Search
Close this search box.
เต้านมคัด

10 วิธีแก้ ‘อาการเต้านมคัด’
เรื่องปกติที่คุณแม่มือใหม่ต้องเจอ

เมื่อคลอดลูกน้อย ร่างกายของคณแม่จะสร้างน้ำนมมากขึ้น เต้านมของคุณแม่ใหญ่และหนักขึ้น รวมถึงอาจมีอาการบวมด้วย อาการเต้านมคัดจึงเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้กับคุณแม่ทุกคน ซึ่งอาการเต้านมคัดนี้คุณแม่ไม่ควรละเลยนะคะ เพราะมันอาจนำไปสู่ภาวะท่อน้ำนมอุดตัน หรือเต้านมอักเสบได้

คุณแม่ควรหาทางป้องกันเสียตั้งแต่เนิ่น ๆ หากแก้ไขด้วยวิธีที่ถูกต้อง อาการเต้านมคัดมีสิทธิ์ที่จะหายได้ภายใน 1 – 2 วันนะ Cotton Baby จะมาบอกสาเหตุของการเกิดเต้านมคัด และวิธีแก้ปัญหาเรื่องนี้มาบอก จะแก้ด้วยวิธีไหนได้บ้างไปดูกันเลยค่ะ

สาเหตุของอาการ เต้านมคัด มาจากอะไร

สาเหตุของอาการเต้านมคัด

สาเหตุของอาการเต้านมคัด อาจเกิดจากสิ่งเหล่านี้

  • ร่างกายของคุณแม่สร้างน้ำนมได้มากกว่าปริมาณที่ลูกกิน
  • คุณแม่เว้นระยะ หรือทิ้งช่วงการให้นมลูกนานเกินไป ทำให้น้ำนมสะสมมาก
  • คุณแม่อาจอุ้มให้นมลูกผิดท่า ลูกจึงดูดนมผิดวิธี ทำให้การระบายน้ำนมไม่ดีเท่าที่ควร
  • ให้ลูกกินนมผ่านขวดนม เท่ากับลดความถี่ที่ลูกจะได้ดูดนมจากเต้าคุณแม่
  • ลูกมีแรงดูดน้อย ทำให้ไม่สามารถดูดนมได้เต็มที่
  • คุณแม่มีความเครียด อ่อนเพลีย หรือมีภาวะโลหิตจาง
  • หัวนมเป็นแผล
  • ความผิดปกติของเต้านม

อาการเต้านมคัดเป็นอย่างไร

อาการเต้านมคัด

เต้านมคัด อาการของคุณแม่หลังคลอดลูกน้อย ร่างกายจะมีการปรับเปลี่ยนของฮอร์โมน ทำให้มีเลือดมาเลี้ยงที่บริเวณเต้านมมากขึ้น ใน 2 – 5 วันหลังคลอดเต้านมจะสร้างน้ำนมมากขึ้น ทำให้เกิดอาการเหล่านี้

  • บวม และมีน้ำนมมาคั่งจำนวนมาก
  • เต้านมมีขนาดใหญ่ขึ้น
  • เต้านมมีลักษณะแข็งตึง เจ็บ และร้อนมากขึ้น
  • บริเวณลานหัวนมตึงแข็ง น้ำนมไหลไม่ดี
  • หัวนมหดสั้นลง ทำให้ลูกดูดไม่ได้
  • บางครั้งอาจมีไข้ แต่ไม่เกิน 24 ชั่วโมง
  • อาการเต้านมคัดมักจะเป็นทั้ง 2 ข้าง
  • ถ้ามีน้ำนมค้างอยู่ในเต้านมนาน จะส่งผลให้หยุดการสร้างน้ำนมชั่วคราว จนกว่าจะมีการระบายน้ำนมออกไป

วิธีแก้ปัญหาเต้านมคัด

วิธีแก้ปัญหาเต้านมคัด

ทางออกที่สามารถช่วยบรรเทาอาการเต้านมคัดของคุณแม่ได้ มีด้วยหลายวิธี สะดวกวิธีไหนก็เลือกไปทำตามกันได้เลย

1. แก้อาการเต้านมคัดให้คุณแม่ ส่วนคุณลูกก็ดูดนมถูกวิธี – พื้นฐานต้องเริ่มต้นด้วยการให้ลูกดูดนมอย่างถูกวิธี และคุณแม่ต้องอุ้มให้นมลูกอย่างถูกท่าด้วย คลิกเลย แนะนำ 6 ท่าอุ้มลูกที่เหมาะกับเด็กแรกเกิดถึง 4 เดือนขึ้นไป

2. เต้านมคัด ต้องให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น – ให้ลูกดูดนมบ่อยขึ้น โดยในช่วงแรกพยายามปลุกทุก 2 – 3 ชั่วโมง (หรือเร็วกว่านั้นได้หากลูกหิว) การให้ลูกดูดนมจากเต้า ช่วยให้น้ำนมไหลได้ดี ลดอาการเต้านมคัดได้

3. ลดอาการเต้านมคัด เตรียมตัวก่อนให้ลูกดูดนม – ก่อนให้ลูกดูดนมพยายามบีบนมด้วยมือ หรือปั๊มนมออกก่อนเล็กน้อย หรือนวดเต้านมให้นุ่มและร้อนขึ้น เพื่อให้เต้านม ลานนม และหัวนมนิ่มลง

4. เลี่ยงใช้ขวดนมเสริม ลดอาการเต้านมคัด – การให้ลูกนมเสริมจากขวด หรือการใช้จุกหลอกบ่อยเกินไป นั่นอาจทำให้เขาไม่ค่อยดูดนมคุณแม่ได้

5. ลูกดูด เรานวด ช่วยกระตุ้นน้ำนม ลดเต้านมคัด – ขณะที่ลูกดูดนม ให้คุณแม่นวดเต้านมเบา ๆ จะทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และช่วยกระตุ้นให้น้ำนมไหลได้ดีขึ้น

6. ปั๊มนมในเวลาเดียวกันกับที่ลูกดูด – หากคุณแม่ต้องกลับไปทำงาน พยายามปั๊มนมในเวลาเดียวกับที่ลูกเคยดูดนมที่บ้าน แม้ลูกจะไม่ได้ดูดจากเต้า แต่อย่างน้อยเราก็จะได้กระตุ้นน้ำนมให้ไหลเวียนได้เหมือนเดิม ช่วยลดอาการเต้านมคัด

7. เลือกสวมเสื้อชั้นในที่พอดี ช่วยลดเต้านมคัด – สวมเสื้อชั้นในที่ช่วยพยุงเต้านม หลีกเลี่ยงเสื้อชั้นในที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไป

8. ประคบร้อนก่อนให้นมลูกช่วยลดเต้านมคัด – ลองประคบร้อนด้วยผ้าชุบน้ำอุ่น พันรอบเต้านมก่อนให้นมลูก ประมาณ 5 -10 นาที ช่วยให้น้ำนมจะไหลได้ดีขึ้น

9. ประคบเย็นหลังให้นมลูก ช่วยลดเต้านมคัด – ประคบเย็นหลังให้นมลูกประมาณ 10 นาที ช่วยลดอาการปวดและบวมของเต้านม (หากปวดมาก สามารถทานยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล)

10. เต้านมคัดเกิน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์ – ถ้าคุณแม่ลองวิธีทั้งหมดแล้วอาการเต้านมคัดยังไม่ดีขึ้นภายใน 2 วัน ควรปรึกษาแพทย์ หรือที่ปรึกษาด้านนมแม่ตามโรงพยาบาล หรือคลินิกนมแม่ใกล้บ้าน อย่าปล่อยไว้เด็ดขาด

เคล็ดลับสต๊อกนมแม่ให้คงคุณภาพ คลิก ทริคการใช้ถุงเก็บน้ำนมอย่างถูกวิธี

อยากเพิ่มน้ำนม ทำยังไงดี คลิก สุดยอดแห่ง ‘อาหารเพิ่มน้ำนม’ ยิ่งกิน ยิ่งไหล

คุณแม่มือใหม่ที่มีอาการเต้านมคัด หากปล่อยอาการนี้ไว้อาจส่งผลร้ายได้ ที่สำคัญอย่าลืมพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารมีประโยชน์ และดื่มน้ำให้พอดี หลักการพื้นฐานสำคัญที่ทำให้คุณแม่ที่ให้นมลูกด้วยตนเองประสบความสำเร็จ

SHARE

RELATED POSTS

รวม 9 ข้อห้ามขณะให้นมลูก เพื่อสุขภาพที่ดีทั้งแม่และลูกน้อย…
เช็กอาการแพ้ท้องของแม่ตั้งครรภ์ที่ควรรู้ พร้อมวิธีรับมือ คุณแม่ที่กำลังวางแผนมีเจ้าตัวเล็กอยู่คงกำลังคอยสังเกตอาการที่เป็นสัญญาณบอกว่าตั้งครรภ์กันอยู่ใช่ไหมคะ ซึ่ง…
แม่มือใหม่ต้องรู้! เทคนิคให้ลูกดูดนมแม่จากเต้าอย่างถูกต้อง นมแม่เป็นแหล่งอาหารสำคัญที่เป็นประโยชน์ที่สุดสำหรับลูกน้อย ซึ่งการให้ลูกได้ดูดนมแม่จากเต้าอย่างถูกวิธี…
ถ้าเด็กแพ้นมวัว กินนมควายแทนได้ไหม? แน่นอนว่าน้ำนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าคุณแม่มีเหตุบางประการที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้…