Search
Close this search box.
web cover

พ่อแม่ระวัง! โรคไข้เลือดออกในเด็ก อันตรายถึงชีวิต | Advertorial

ช่วงที่ฟ้าฝนไม่เป็นใจ อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยแบบนี้ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะมีอาการป่วยไข้ตามมา ซึ่ง ‘โรคไข้เลือดออกในเด็ก’ ก็เป็นโรคยอดฮิตที่พ่อแม่ควรระวัง เพราะว่าน้ำท่วมขังหลังฝนตกเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ชั้นดีของยุงลาย พาหะตัวร้ายของโรคไข้เลือดออก โรคติดต่อที่ยังไม่มียารักษา หากเป็นขึ้นมาต้องรีบนำส่งโรงพยาบาลทันที! วันนี้ Cotton Baby จึงเตรียมเรื่องน่ารู้เกี่ยวกับโรคไข้เลือดออกในเด็ก พร้อมบอกเคล็ดลับกำจัดยุงลาย เพื่อให้พ่อแม่สามารถรับมือและดูแลลูกน้อยมาฝากกันค่ะ

รู้จัก ‘โรคไข้เลือดออกในเด็ก’

โรคไข้เลือดออก (Dengue hemorrhagic fever) นับเป็นปัญหาใหญ่ที่ประเทศเขตร้อนชื้นต้องเผชิญ เนื่องจากสภาพอากาศเอื้อต่อการแพร่พันธุ์ของยุงลาย พาหะที่ทำให้เราป่วยไข้เพียงแค่กัดเท่านั้น! นอกจากนี้ผลการวิจัยจากมหาวิทยาลัยฟลอริดา (Florida University) ประเทศสหรัฐอเมริกา ยังชี้ว่า ภาวะโลกร้อนมีผลต่อการเจริญเติบโตของยุง ส่งผลให้การแพร่ระบาดของไข้เลือดออกรุนแรงกว่าเดิม ซึ่งประเทศไทยมีภูมิอากาศร้อนชื้นจึงได้รับผลกระทบนี้ด้วย อ้างอิงจากรายงานของกรมควบคุมโรค ระบุว่า ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 24 พฤษภาคม 2566 พบผู้ป่วยไข้เลือดออกในไทยแล้ว 16,650 ราย โดยพบมากที่สุดในเด็กอายุ 5-14 ปี รองลงมาคือกลุ่มอายุ 15-24 ปี และ 25-34 ปีตามลำดับ โดยปัจจุบันยังไม่มียารักษาโดยเฉพาะ แพทย์จะให้คำแนะนำและบรรเทาตามอาการเท่านั้น โรคไข้เลือดออกในเด็กจึงเป็นภัยร้ายที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดเลยค่ะ

โรคไข้เลือดออกในเด็กอันตรายแค่ไหน?

โรคไข้เลือดออกในเด็ก เกิดจากเชื้อไวรัสไข้เลือดออกเดงกี (Dengue virus) สามารถติดต่อสู่คนผ่านยุงลาย โดยมีระยะฟักเชื้อในร่างกายประมาณ 4-10 วัน แม้จะเป็นโรคที่หายได้เอง แต่หากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี อาจเสี่ยงติดเชื้อที่เยื่อหุ้มสมอง ระบบหายใจล้มเหลว จนเกิดอาการช็อก หมดสติ และเสียชีวิตได้

โดยช่วงแรก โรคไข้เลือดออกในเด็กจะแสดงอาการคล้ายไข้หวัดทั่วไป พ่อแม่ส่วนใหญ่จึงไม่ทันระวัง จนอาจทำให้เจ้าตัวน้อยเสี่ยงอันตรายได้ เพราะแบบนี้เอง Cotton Baby เลยจะมาบอกลักษณะอาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก เพื่อให้พ่อแม่เตรียมรับมือและป้องกันได้ทันการค่ะ

อาการของโรคไข้เลือดออกในเด็ก

โรคไข้เลือดออกในเด็ก สามารถรักษาให้หายตามธรรมชาติได้ แต่สำหรับเด็กที่อายุต่ำกว่า 12 ปี พ่อแม่ควรใส่ใจ และดูแลอย่างใกล้ชิด เพราะเด็กกลุ่มนี้ถือว่ามีความเสี่ยงสูง ภูมิคุ้มกันยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ทำให้มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ง่าย ซึ่งพ่อแม่สามารถสังเกต และเฝ้าระวังอาการได้ตามนี้เลยค่ะ

  • ระยะแรก

เด็กจะรู้สึกปวดเมื่อยตามตัว มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกันประมาณ 2-7 วัน โดยอาจมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นไข้หวัด เบื่ออาหาร และเซื่องซึมร่วมด้วย ในช่วงแรกอาจจะแยกอาการออกได้ยาก หากพ่อแม่พบว่ามีความเสี่ยงเป็นโรคไข้เลือดออกในเด็ก ควรรีบพาลูกไปพบแพทย์ และห้ามรักษาเองด้วยยาลดไข้ประเภทแอสไพริน หรือไอบูโพรเฟน เนื่องจากมีฤทธิ์ทำให้เลือดไม่แข็งตัว และส่งผลให้รู้สึกระคายเคืองในกระเพาะอาหาร หากได้รับยา 2 ชนิดนี้ขณะที่เป็นโรคไข้เลือดออกในเด็ก อาจกระตุ้นให้เกิดภาวะเลือดออกมากขึ้น และนำไปสู่การช็อกจนหมดสติได้ค่ะ

  • ระยะสอง

อาการต่าง ๆ จะมีความรุนแรงมากขึ้น เช่น อ่อนเพลีย ปวดเมื่อย ปวดท้อง มีผื่นแดงขึ้นตามตัว ปากแห้ง ปัสสาวะน้อยลง และมีภาวะขาดน้ำ ในบางรายอาจมีอาการตัวเย็น อุณหภูมิในร่างกายลดต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ส่งผลให้เข้าใจผิดว่าใกล้หายจากโรคไข้เลือดออกในเด็กแล้ว แต่ที่จริงร่างกายกำลังส่งสัญญาณเตือนถึงภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ซึ่งอาจทำให้ช็อกจนเสียชีวิต หากพบว่าอาการของลูกอยู่ในระยะนี้ รีบพาไปพบแพทย์โดยด่วนเลยนะคะ

  • ระยะสาม

ระยะสุดท้าย คืออาการเมื่อลูกเริ่มฟื้นตัวจากโรคไข้เลือดออกในเด็ก โดยอุณหภูมิในร่างกายจะลดลง ไม่มีไข้สูง เกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น อวัยวะเริ่มกลับมาทำงานตามปกติ ส่งผลให้มีความอยากอาหาร รู้สึกสบายตัวและมีแรงมากขึ้น โดยในช่วงนี้อาจพบผื่นแดง หรือรู้สึกคันตามตัวบ้าง ซึ่งจะเป็นอาการที่พบได้ทั่วไป ไม่ส่งผลร้ายแรงค่ะ

โดยระยะทั้ง 3 ที่ Cotton Baby กล่าวมา เป็นเพียงอาการเบื้องต้นสำหรับสังเกตการณ์เท่านั้น หากต้องการศึกษาโรคไข้เลือดออกในเด็กเพิ่มเติม สามารถอ่านอย่างละเอียดได้ที่บทความของ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) คลิก การดำเนินการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออก

รับมือโรคไข้เลือดออกในเด็กอย่างไรให้ลูกปลอดภัย บ้านไร้ยุง!

1. ฉีดวัคซีนไข้เลือดออกในเด็ก

การฉีดวัคซีนไข้เลือดออกในเด็ก สามารถทำได้เมื่อเจ้าตัวน้อยอายุ 9 ปีขึ้นไป ซึ่งจะช่วยลดความรุนแรง และป้องกันการติดเชื้อซ้ำได้ค่ะ

2. กำจัดแหล่งยุงลาย ด้วยหลัก 3 เก็บ จาก สสส.

ทำลายแหล่งเพาะพันธ์ยุงด้วยมาตรการ 3 เก็บ ช่วยป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็ก ด้วยวิธีง่าย ๆ สามารถช่วยกันได้ทั้งครอบครัว

  • เก็บบ้านให้สะอาด ไม่เหลือมุมอับให้ยุงยึดเกาะได้ โดยอาจแบ่งหน้าที่ทำความสะอาดกับลูก นอกจากจะช่วยกำจัดยุงลายแล้ว ยังเป็นตัวฝึกวินัยที่ดีด้วยนะคะ
  • เก็บขยะรอบบ้าน ลองสอนให้เจ้าตัวเล็กแยกขยะ ฝึกทักษะการจดจำ และทำให้เข้าใจกฎการอยู่ร่วมกันในสังคม อีกทั้งยังกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงลาย ได้ประโยชน์ถึง 2 ต่อเลยค่ะ
  • เก็บน้ำในภาชนะ ปิดฝามิดชิด และเปลี่ยนภาชนะใส่น้ำทุก 7 วัน โดยอาจให้ลูกช่วยนับวัน ทำเป็นกิจกรรม แบ่งตามสัปดาห์แบบ พ่อ-แม่-ลูก ก็ดีไปอีกแบบค่ะ

พ่อแม่ที่สนใจสามารถอ่านหลัก 3 เก็บเพิ่มเติมได้ที่ วิธีกำจัดยุงลายด้วยมาตรการ 3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค

3. สวมเสื้อผ้ามิดชิด ปกปิดร่างกาย

เลือกใส่เสื้อผ้าแขนยาว-ขายาวให้ลูก เพื่อป้องกันการถูกยุงกัด ลดความเสี่ยงในการเป็นไข้เลือดออกในเด็ก โดยขั้นตอนนี้ สามารถให้ลูกร่วมช่วยเลือกชุดได้ เพื่อให้เจ้าตัวน้อยสนใจ ไม่ร้องไห้งอแงเวลาต้องใส่เสื้อผ้าหลายชิ้นค่ะ

4. ใช้สมุนไพรเป็นตัวช่วย

รู้ไหมคะว่า สมุนไพรใช้ไล่ยุงได้ด้วยนะ โดยพ่อแม่สามารถวางไว้รอบ ๆ บ้าน หรือตั้งในบริเวณที่เจ้าตัวน้อยอยู่ เป็นวิธีกำจัดยุงแบบธรรมชาติ ตามตำราพื้นบ้านขนานแท้ ซึ่งสมุนไพรที่ไล่ยุงได้ มีดังนี้

  • ตะไคร้หอม
  • มะกรูด
  • โหระพา
  • สะระแหน่
  • มะนาว
  • ส้ม
  • ยูคาลิปตัส

เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ ช่วยประหยัดเงินในกระเป๋า และยังป้องกันโรคไข้เลือดออกในเด็กได้อีกด้วย แต่มีข้อควรระวัง ถ้าหากพ่อแม่เลือกใช้สเปรย์ หรือโลชั่นกันยุง ห้ามใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของดีอีอีที (DEET) อิคาริดิน (Icaridin) ไออาร์ 3535 (IR 3535) น้ำมันตะไคร้หอม และน้ำมันยูคาลิปตัส กับเด็กที่มีอายุ 2-4 ปีนะคะ เพราะอาจเสี่ยงเกิดการระคายเคืองบนผิวหนังได้

5. เลี้ยงปลาในบ่อน้ำ ช่วยกำจัดพื้นที่วางไข่

สำหรับบ้านที่มีพื้นที่สวน หรือมีบ่อน้ำขนาดใหญ่ การเลี้ยงปลาก็เป็นตัวช่วยชั้นดี ในการกำจัดไข่ลูกน้ำยุงลายตามธรรมชาติ โดยพ่อแม่อาจแบ่งหน้าที่ดูแลให้อาหารกับลูก พร้อมสอนถึงเหตุผลว่าทำไมถึงควรเลี้ยงปลาในบ้าน เพื่อให้เจ้าตัวเล็กเข้าใจความสำคัญของโรคไข้เลือดออกในเด็ก และทำให้ใกล้ชิดกับธรรมชาติมากขึ้นด้วยค่ะ

แม้ว่าโรคไข้เลือดออกในเด็กจะเป็นโรคอันตราย แต่ก็สามารถรับมือได้ หากรู้วิธีป้องกันและรักษาอย่างถูกวิธี ซึ่ง Cotton Baby ได้รวมทุกเรื่องที่ควรรู้ เพื่อให้พ่อแม่พร้อมสู้ภัยในหน้าฝนนี้ไว้แล้ว ไม่ว่าจะกี่ร้อน กี่ฝน กี่หนาว ก็ดูแลลูกให้ปลอดภัยได้ หายห่วงเลย

SHARE

RELATED POSTS

‘ฟันน้ำนม’ สำคัญกว่าที่คิด ชวนพ่อแม่มาดูแลฟันลูกน้อยตั้งแต่ซี่แรก หนึ่งในพัฒนาการสำคัญของลูกน้อยวัยทารกนั่นก็คือ…