Search
Close this search box.
ฝีดาษลิง

พ่อแม่ระวัง! โรคฝีดาษลิง แค่สัมผัสก็เสี่ยงอาการหนักในเด็กเล็ก

ตุ่มขนาดเล็กที่ขึ้นตามร่างกายของลูก ไม่ว่าจะเป็นแขน ขา หรือฝ่ามือที่แดงไปหมด คุณพ่อคุณแม่อาจจะคิดว่ามันคือ ‘โรคอีสุกอีใส’ ให้ลูกดื่มน้ำมาก ๆ นอนเยอะ ๆ ไม่นานเดี๋ยวก็หายเอง แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่นะคะ! เพราะมันอาจเป็นโรคชนิดหนึ่งที่กำลังแพร่กระจายอย่างมากกว่า 15 ประเทศทั่วโลก และมีแนวโน้มกลายเป็นโรคแพร่ระบาดใหญ่อีกด้วย เชื่อว่าเราคงจะได้ยินกันบ้างแล้วกับ ‘โรคฝีดาษลิง’ นั่นเองค่ะ

โรคฝีดาษลิง (Monkeypox) พบครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในแถบประเทศแอฟริกาต่าง ๆ ซึ่งเป็นบริเวณใกล้ป่าดิบชื้น ในปัจจุบัน โรคฝีดาษลิงกำลังแพร่กระจายอย่างมากในประเทศแถบแอฟริกาและยุโรปบางประเทศ เช่น สเปน โปรตุเกส เยอรมนี อิตาลี รวมทั้งสหรัฐอเมริกา แคนาดา และออสเตรเลีย สาเหตุหนึ่งของการติดต่อโรคฝีดาษลิง คือการเดินทางข้ามประเทศ

ฝีดาษลิง1

ทำความรู้จักกับโรคฝีดาษลิง คืออะไร

โดยทั่วไปแล้ว เรามักจะได้ยินชื่อของโรคฝีดาษ หรือ ไข้ทรพิษกันใช่ไหมคะ ? แต่โรคฝีดาษลิง จะเป็นคนละชนิดกับโรคตัวดังกล่าว เพียงแต่มาจากเชื้อโรคตระกูลเดียวกันค่ะ โดยโรคฝีดาษลิงที่ระบาดจาก ‘คนสู่คน’ นี้ มีต้นกำเนิดมาจากโรคที่เกิดในสัตว์ประเภทไพรเมต เช่น ลิง หรือสัตว์ประเภทฟันแทะอย่าง กระรอก กระต่าย หนู เป็นต้น แน่นอนว่ารายชื่อสัตว์ข้างต้นนี้ คงเป็นเจ้าสัตว์แสนน่ารักของคุณหนู ๆ ที่เจอทีไร ก็ต้องเข้าไปสัมผัสหรือหอมเสมอ ดังนั้นเด็ก ๆ นี่แหละ คือ เหยื่อแสนโอชะของโรคฝีดาษลิงเลย

เมื่อคนไปสัมผัสกับสารคัดหลั่ง หรือถูกกัด/ขีดข่วนจากสัตว์ประเภทดังกล่าว จะทำให้เสี่ยงต่อการป่วยเป็นโรคฝีดาษลิงได้ หากสัตว์เหล่านั้นกำลังป่วยอยู่ โดยโรคนี้สามารถกระจายจากคนสู่คนต่อเป็นทอด ๆ ผ่านการสัมผัสโดยตรงหรือแม้แต่การหายใจเข้า-ออกทางอากาศได้เช่นกัน ด้วยสาเหตุนี้เอง โรคฝีดาษลิงจึงถูกพิจารณาให้เป็นโรคแพร่ระบาดใหญ่ในหลายประเทศ

ฝีดาษลิง2

ลักษณะอาการของโรคฝีดาษลิง

โรคฝีดาษลิง จะเริ่มแสดงอาการประมาณ 2 สัปดาห์หลังจากได้รับเชื้อ เด็กที่ป่วยจะมีไข้ หนาวสั่น ปวดหัว เจ็บคอ อ่อนเพลีย คล้ายกับอาการไข้ทั่วไปเลยค่ะ แต่จะต่างกันตรงที่โรคฝีดาษลิงจะมีตุ่มหรือต่อมน้ำเหลืองบวมขึ้นมาทั่วร่างกาย มักลุกลามขึ้นเมื่ออาการไข้เบาลงเล็กน้อย โดยเริ่มจากใบหน้าก่อน แล้วกระจายสู่ส่วนอื่น ๆ ทั่วร่างกายของเด็ก โดยเฉพาะบริเวณมือและเท้า

ตุ่มเหล่านี้ จะทำให้เจ้าตัวน้อยรู้สึกคันและระคายเคืองอย่างรุนแรง หากเกาก็จะกลายเป็นสะเก็ดหลุดออกมา ซึ่งจะทำให้เกิดแผลและรอยตามมาได้นะคะ หากเด็ก ๆ รวมทั้งคุณพ่อคุณแม่ เริ่มมีอาการดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์ทันที เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ เฝ้าระวังอาการ และรักษาอย่างตรงจุด

ฝีดาษลิง3

โรคฝีดาษลิง อันตรายต่อเด็ก ?

กลุ่มผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง ส่วนใหญ่จะไม่มีอาการรุนแรง และสามารถหายเองได้ภายในระยะเวลาไม่กี่สัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตาม สำหรับเด็กเล็กที่ร่างกายยังต้องการภูมิคุ้มกันในการป้องกันเชื้อโรคอย่างมาก โรคนี้ก็ยังถือว่าเป็นอันตรายสำหรับเด็กอยู่นะคะ เพราะจากสถิติแล้ว โรคฝีดาษลิงจะเกิดอัตราการเสียชีวิตสูงที่สุดในกลุ่มเด็กเล็กถึง 10% เลยทีเดียวค่ะ

ฝีดาษลิง4

วิธีป้องกันโรคฝีดาษลิง

ณ ตอนนี้ (23 พฤษภาคม 2565) ยังไม่มีหลักฐานการรักษาที่พิสูจน์ว่าปลอดภัยจากการติดเชื้อโรคฝีดาษลิงได้อย่าง 100 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นการป้องกันตัวจึงเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่ต้องใส่ใจและเฝ้าระวัง

  • ไม่ให้ลูกสัมผัสกับสัตว์ตามท้องถนน เพราะเราไม่สามารถรู้ได้ว่าสัตว์เหล่านั้นป่วย หรือมีอาการโรคฝีดาษลิงหรือไม่ ดังนั้นป้องกันตั้งแต่ ‘การสัมผัส’ จึงถือเป็นเรื่องที่ดีที่สุดค่ะ
  • ฉีดวัคซีนทรพิษ ซึ่งสามารถป้องกันโรคฝีดาษลิงให้กับเด็ก ๆ ได้ถึงร้อยละ 85 เลยทีเดียว
  • รักษาความสะอาด ล้างมือด้วยสบู่/เจลแอลกอฮอล์ ทุกครั้งหลังจากสัมผัสสิ่งของสาธารณะ
  • รับประทานอาหารที่สุก เพื่อผ่านกระบวนการชะล้างสิ่งสกปรกและเชื้อโรค

ปัจจุบัน บ้านเรายังไม่มีรายงานผู้ป่วยโรคฝีดาษลิง แต่ก็เป็นช่วงที่เริ่มให้มี ‘การเดินทาง’ ข้ามประเทศ ซึ่งอาจเป็นช่องว่างให้โรคร้ายนี้เข้ามากระจายในประเทศได้ แต่อย่างไรก็ตาม ทางกรมควบคุมโรค ได้ประกาศตั้งศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉินทางสาธารณสุข เพื่อเฝ้าระวัง คัดกรองผู้เดินทางจากต่างประเทศไว้เรียบร้อยแล้วค่ะ

สุดท้ายนี้ ถึงแม้ประเทศไทยเราเอง จะมีมาตรการป้องกันแน่นหนาเพียงใด การรู้จักป้องกันตัวเองและลูกน้อยจากโรคฝีดาษลิง ถือเป็นสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ทุกคนควรรู้และเตรียมรับมือ เพื่อสุขภาพร่างกายที่ดีของคนในครอบครัวนะคะ

SHARE

RELATED POSTS

สังเกตให้ทันก่อนสาย ลูกน้อยเข้าข่ายเป็นโรคตาขี้เกียจหรือเปล่า คุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจเคยได้ยินถึง ‘โรคตาขี้เกียจ’…