Search
Close this search box.
ทะเลาะกับพ่อ แม่, ทะเลาะกับครอบครัว

ลูกทะเลาะกับพ่อ แม่ รับมืออย่างไรให้แฮปปี้ทั้งสองฝ่าย

สายใยของคนในครอบครัว เป็นความสัมพันธ์แสนพิเศษที่ไม่เหมือนความสัมพันธ์รูปแบบอื่น แต่ปัจจุบันมีหลายครอบครัวที่เกิดปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ เมื่อลูกทะเลาะกับพ่อ แม่ อาจกลายเป็นปัญหาใหญ่โตบานปลายไปจนถึงขั้นตัดขาดกันเลยก็เป็นได้ หากพ่อแม่ไม่รู้วิธีรับมือกับสถานการณ์ หรือทำความเข้าใจกับลูกก็อาจส่งผลกระทบให้บรรยากาศในครอบครัวอึดอัดได้ เราจะพาพ่อแม่ไปรู้ถึงวิธีการรับมือกับสถานการณ์เมื่อลูกทะเลาะกับครอบครัวว่าควรทำอย่างไร

Do & Don’t | 5 วิธีรับมือเมื่อทะเลาะกันในครอบครัว

เมื่อลูกทะเลาะกับพ่อ แม่ อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง

เมื่อลูกทะเลาะกับพ่อ แม่ อย่าเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง

การทะเลาะกับครอบครัวโดยส่วนมากแล้วไม่ลูกก็พ่อแม่นี่แหละที่จะเอาตัวเองเป็นที่ตั้ง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะคิดว่าตัวเองถูกอยู่เสมอ โดยไม่สนใจความรู้สึกของอีกฝ่ายเลย ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องที่ดีเลย หากไม่มีใครยอมใคร ไม่ปรับความเข้าใจกันก็อาจเกิดการทะเลาะกันถึงขั้นรุนแรงและตัดขาดกันไปเลยก็ได้ ทางออกสำหรับปัญหานี้ก็คือ ต้องหยุดคิดว่าใครผิดใครถูกในระหว่างที่ทะเลาะกัน อย่ารีบตัดสินว่าใครผิดใครถูก อย่าเพิ่งโทษตัวเอง หรือปล่อยปัญหาทิ้งไว้โดยไม่แก้ไข เพราะบรรยากาศน่าอึดอัดจะอยู่กับเราไปเรื่อย ๆ รอให้ต่างฝ่ายต่างเย็นลงแล้วค่อยคุยกันด้วยเหตุผลอาจทำให้เข้าใจกันมากขึ้นได้มากกว่า

ทะเลาะกับพ่อ แม่ เพราะถูกบังคับให้อยู่ในกรอบจนเกินไป

ทะเลาะกับพ่อ แม่ เพราะถูกบังคับให้อยู่ในกรอบจนเกินไป

เมื่อลูกถูกคาดหวังจากพ่อแม่มากเกินไป ถูกตีกรอบให้อยู่ในกฎเกณฑ์ บังคับทุกอย่างให้เป็นไปตามที่วางไว้ ซึ่งในช่วงแรกลูกอาจยอมทำเพราะรัก แต่สะสมไปนาน ๆ เข้าจะทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด กดดันตัวเอง และพอถึงขีดสุดของความอดทนจะทำให้ลูกระเบิดออกมา โดยไม่สนใจอะไรทั้งนั้นแม้แต่พ่อแม่ตัวเอง จึงเกิดเป็นการทะเลาะกับครอบครัวขึ้นมา ในกรณีแบบนี้พ่อแม่ควรยกเรื่องกตัญญูและอกตัญญูออกไปก่อน มันไม่ใช่เรื่องของความดีความชั่ว แต่คือการบาลานซ์ความรู้สึกของทั้งฝ่ายเราและลูกให้มีความสุขทั้งคู่ กลับมามองถึงปัญหาจริง ๆ ว่าการทะเลาะครั้งนี้เกิดขึ้นจากอะไรแล้วค่อยมาเจอกันตรงกลางดีกว่ายึดติดกับกฎเกณฑ์จนไม่มีความสุข ลองมาเช็ก พฤติกรรม พ่อแม่รังแกฉัน ทำร้ายลูกโดยไม่รู้ตัวที่ส่งผลเสียถึงอนาคต

เมื่อความคิดสวนทางกันจึงทะเลาะกับพ่อ แม่

เมื่อความคิดสวนทางกันจึงทะเลาะกับพ่อ แม่

เมื่อลูกเริ่มโตเขาจะมีความคิดเป็นของตัวเอง และถ้าความคิดนั้นบังเอิญสวนทางกับพ่อแม่ แน่นอนว่าต้องเกิดการทะเลาะกับครอบครัวขึ้น และหากครอบครัวไหนที่พ่อแม่ไม่ยอมเข้าใจถึงวัยของลูกก็อาจทำให้เกิดปัญหาใหญ่โตและหันหลังหนีใส่กันก็เป็นได้ ทางที่ดีพ่อแม่หรือลูกควรจะเปลี่ยนมุมมองแล้วคิดทบทวน มองในมุมของอีกฝ่ายว่าถ้าหากเราเป็นลูก แล้วทำแบบนี้จะรู้สึกอย่างไร อาจทำให้เข้าใจกันมากขึ้นว่าลูกกำลังรู้สึกอะไร หรือว่าที่พ่อแม่ทำแบบนี้ก็เพราะมีเจตนาหวังดีกับเรา เพียงแต่ไม่ค่อยแสดงออก

ทะเลาะกับพ่อ แม่ จากการโดนทำร้ายกายและใจ

ทะเลาะกับพ่อ แม่ จากการโดนทำร้ายกายและใจ

บางครอบครัวที่ลูกถูกทำร้ายจากพ่อแม่ทั้งทางกายและใจ เช่น ทุบตี ใช้กำลัง ชอบพูดจาประชดประชันลูก พูดจาจิกกัดทุกทางที่ทำได้ก็เป็นเหตุผลที่ทำให้เกิดการทะเลาะกับครอบครัวได้ แต่เมื่อทะเลาะกันด้วยเหตุนี้แล้ว พ่อแม่ก็ควรระวังคำพูด พวกคำพูดแรง ๆ แดกดันลูก หรือพูดด้วยอารมณ์โดยไม่ได้ไตร่ตรองให้ดีก่อน อาจสร้างบาดแผลหรือปมในใจให้ลูกได้แบบที่พ่อแม่เองก็ไม่รู้ตัว

พื้นที่ส่วนตัวของลูกทำให้ทะเลาะกับพ่อ แม่

พื้นที่ส่วนตัวของลูกทำให้ทะเลาะกับพ่อ แม่

ในช่วงที่ลูกเป็นวัยรุ่นอาจมีโอกาสที่จะทะเลาะกับครอบครัวได้ง่าย พ่อแม่ต้องเข้าใจว่าลูกต้องการความเป็นส่วนตัว เด็กบางคนอาจจะสร้างอาณาเขตของตัวเอง และไม่ต้องการให้ผู้ใหญ่เข้ามาวุ่นวาย เมื่อลูกไม่ยอมและพ่อแม่ก็ไม่ยอมเข้าใจอาจทำให้มีปากเสียงกันได้ง่าย อันดับแรกเลยพ่อแม่ควรปล่อยวางให้ได้ว่าเมื่อลูกโตขึ้นเขาจะมีโลกและสังคมเป็นของตัวเอง ยิ่งเราห้าม เด็กจะยิ่งหนีและปิดกั้น จนในที่สุดพ่อแม่จะเข้าไม่ถึงตัวเขาเลย ฉะนั้นควรทำความเข้าใจ ปล่อยให้เขามีพื้นที่ของตัวเองบ้าง แต่ถ้าลูกมีพฤติกรรมไม่อยากมีสังคมหรือพูดคุยกับใคร เก็บตัวเงียบ อยู่กับสิ่งที่ตัวเองสนใจในห้องส่วนตัวด้วยระยะเวลานานเกิน 6 เดือนขึ้นไป มาเช็กลิสต์ ‘ฮิคิโคโมริ (Hikikomori)’ อาการของลูกที่ชอบเก็บตัว ไม่เข้าสังคม กันหน่อยดีกว่า

การทะเลาะกับครอบครัว ไม่ว่าจะพ่อแม่ทะเลาะกับลูก หรือ ลูกทะเลาะกับพ่อแม่ ก็ไม่ควรปล่อยปัญหาให้คาราคาซัง ทางที่ดีควรหันหน้ามาคุยกัน หาจุดกึ่งกลางระหว่างกันให้เจอแล้วครอบครัวก็จะมีความสุข

SHARE

RELATED POSTS

ป้องกันลูกขาดความมั่นใจ ด้วยการปลูกฝัง Self Esteem…