Search
Close this search box.
อาหารเสริมธาตุเหล็ก

5 อาหารเสริมธาตุเหล็ก เพื่อพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย

ธาตุเหล็กเป็นแร่ธาตุที่สำคัญต่อร่างกาย โดยเฉพาะพัฒนาการทางสมองของลูกน้อย ตั้งแต่ตอนที่ยังเป็นทารก ซึ่งในช่วงตั้งแต่ 6 เดือนถึง 2 ปี พ่อแม่ต้องใส่ใจลูกเป็นพิเศษ เพราะถ้าหากร่างกายขาดธาตุเหล็กในช่วงนั้นจะส่งผลต่อพัฒนาการทางด้านปัญญา สมาธิ และไหวพริบ อาจจะทำให้ลูกสูญเสียศักยภาพทางด้านสติปัญญา และทำให้ระดับไอคิวต่ำลงอย่างถาวรได้เลยนะ

รู้แบบนี้แล้ว..พ่อแม่อย่างเราก็ต้องป้องกันไม่ให้ร่างกายของลูกน้อยขาดธาตุเหล็กด้วยวิธีง่าย ๆ อย่างการเลือกอาหารเสริมธาตุเหล็กให้ลูกทาน เพื่อเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการให้สมบูรณ์ได้มากที่สุด เพราะนอกจากจะส่งผลต่อพัฒนาการของลูกแล้ว ยังเสี่ยงต่อภาวะโลหิตจางได้อีกด้วย ทาง Cotton Baby เลยเอาอาหารเสริมธาตุเหล็กที่หาทานง่าย ๆ มาฝากคุณพ่อคุณแม่ค่ะ แต่ก่อนจะไปดูอาหารเสริมธาตุเหล็ก เราต้องจะรู้ก่อนว่าเด็กอายุเท่านี้ต้องการธาตุเหล็กปริมาณเท่าไหร่  

ลูกอายุเท่านี้ต้องการธาตุเหล็กเท่าไหร่ ?

อาหารเสริมธาตุเหล็ก

ช่วง 4 – 6 เดือน : ทารกจะใช้ธาตุเหล็กจากที่เคยได้รับตั้งแต่ตอนอยู่ในครรภ์ บวกกับที่ได้จากนมแม่ก็ถือเพียงพอแล้ว

อายุ 6 เดือน – 2 ปี : เป็นช่วงที่ลูกควรจะต้องได้รับอาหารเสริมธาตุเหล็กอื่น ๆ ที่นอกจากนมแม่แล้ว เพื่อเป็นการช่วยเสริมสร้างพัฒนาการอย่างต่อเนื่อง

อายุ 2 – 12 ปี : ช่วงนี้ลูกเริ่มเข้าสู่ช่วงวัยเรียนแล้ว ซึ่งเป็นระยะที่ร่างกายมีการเจริญเติบโตและสร้างเม็ดเลือดได้อย่างรวดเร็ว ธาตุเหล็กจึงมีความสำคัญต่อพัฒนาการด้านสมองและสติปัญญา

อาหารเสริมธาตุเหล็ก

5 แหล่งอาหารเสริมธาตุเหล็ก สร้างพัฒนาการที่สมบูรณ์ให้ลูก

1. อาหารเสริมธาตุเหล็กประเภท ‘เนื้อสัตว์’

วัตถุดิบที่เป็นแหล่งรวมธาตุเหล็กสูงอย่างเนื้อสัตว์ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นเนื้อหมู เนื้อวัว เนื้อไก่ เครื่องในสัตว์ รวมถึงอาหารทะเล เช่น กุ้ง ปลาหมึก ปลาแซลมอน ปลาทูน่า หอยนางรม เหล่านี้เป็นธาตุเหล็กที่อยู่ในรูปแบบฮีม ที่สามารถดูดซึมและนำไปสร้างเลือดได้โดยตรง แต่เด็ก ๆ มักจะไม่ค่อยปลื้มกับอาหารเสริมธาตุเหล็กพวกนี้สักเท่าไหร่ หน้าที่ของคุณแม่คงต้องรังสรรค์เมนูเรียกน้ำย่อยลูก ๆ กันหน่อยนะคะ

2. อาหารเสริมธาตุเหล็ก ‘พืชผักใบเขียว’

อาหารเสริมธาตุเหล็กอย่างผักใบเขียวชนิดต่าง ๆ เช่น ปวยเล้ง บรอกโคลี คะน้า หน่อไม้ฝรั่ง กะหล่ำปลี ผักชี ฯลฯ ก็มีธาตุเหล็กสูงเช่นกัน แต่พวกพืชผักใบเขียวไม่ได้อยู่ในรูปแบบของฮีมจึงจะถูกดูดซึมไปใช้ได้น้อย จึงแนะนำให้ทานผัก ผลไม้ที่ช่วยดูดซึมธาตุเหล็กได้ดีมากขึ้น เช่น ผลไม้ที่มีวิตามินซี หรือออกรสเปรี้ยวอย่าง ลิ้นจี่ เงาะ ส้ม สตรอว์เบอร์รี หรือ สับปะรด แทนก็ได้ค่ะ

3. อาหารเสริมธาตุเหล็ก จาก ’ไข่ไก่ ไข่เป็ด’

แหล่งรวมสารอาหารที่อุดมไปด้วยโปรตีน วิตามิน สารต้านอนุมูลอิสระ และธาตุเหล็ก โดยเฉพาะส่วนของไข่แดง จากทั้งไข่ไก่และไข่เป็ด ล้วนเป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติที่มีธาตุเหล็กสูง เพียงทานเป็นประจำทุกวันก็ช่วยให้ลูกน้อยห่างไกลจากการขาดธาตุเหล็กได้แล้ว แถมยังทำง่าย ได้หลายเมนูอีกด้วยค่ะ

4. อาหารธาตุเหล็ก ‘ตระกูลธัญพืช’

ตระกูลธัญพืชทั้งหลายอย่างพวกถั่ว ข้าวโอ๊ต เป็นอาหารเสริมธาตุเหล็กที่ดีและทานง่าย โดยเฉพาะถั่วพิสตาชิโอ เป็นแหล่งธาตุเหล็กที่ให้ปริมาณสูงถึง 15 มก. ต่อถั่ว 100 กรัม ถือว่ามากกว่าอัลมอนด์เกือบ 4 เท่าเลยทีเดียว ส่วนข้าวโอ๊ตก็ให้ปริมาณธาตุเหล็กสูงเช่นกัน แต่ไม่แนะนำให้เลือกทานข้าวโอ๊ตเป็นแหล่งอาหารหลักเพื่อช่วยเสริมธาตุเหล็ก เพราะมีสารประกอบไฟเตทที่มีความสามารถเข้าไปยับยั้งการดูดซึมของธาตุเหล็กได้ คุณแม่อาจจะให้ลูกทานเสริมเป็น snack เพลิน ๆ แทนก็ได้ค่ะ

 5. อาหารเสริมธาตุเหล็ก ดาร์กช็อกโกแลต

อาหารเสริมธาตุเหล็กที่ให้ทั้งความอร่อยและเป็นประโยชน์ ที่สำคัญยังเป็นของโปรดที่เด็ก ๆ ชอบทานอีกด้วย นั่นก็คือ ดาร์กช็อกโกแลต ที่มีปริมาณธาตุเหล็กมากถึง 5 มก. ต่อ 1 ออนซ์ ส่วนผงโกโก้ 1 ถ้วย ก็มีปริมาณของธาตุเหล็ก 11.9 มก. หรือแม้แต่นมช็อกโกแลตธรรมดาเองก็ให้ปริมาณธาตุเหล็กถึง 1.1 กรัม เช่นกัน

หากในแต่ละวันลูกทานได้น้อยหรือเลือกทาน คุณแม่ควรเน้นอาหารเสริมธาตุเหล็กจานที่ลูกสามารถทานได้มากที่สุดก่อน (ถ้าลูกไม่ชอบทานตับก็ให้ทานไข่แดงแทน) รวมถึงต้องทำเมนูให้น่าทาน อาจจะลองใส่ความครีเอทลงไป ส่องไอเดียการจัดข้าวกล่องเบนโตะ (Bento) ช่วยเรียกน้ำย่อยให้ลูก หรือลองทำเมนูง่าย ๆ ได้ประโยชน์ คลิก 12 เมนูอาหารทำกินเองได้ที่บ้าน

SHARE

RELATED POSTS

เตรียมเลย! เข้าครัวทำอาหารต้านหวัด เสริมภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อย อาหารต้านหวัด…
ปัญหาเด็กแพ้อาหารไม่ใช่เรื่องเล็ก พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยต้องเริ่มทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ ในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลง…
รวมเคล็ดลับการให้อาหารมื้อแรกของลูกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้! การเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกน้อยนับเป็นก้าวสำคัญในการช่วยส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก พ่อแม่มือใหม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นกังวลและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่และข้อควรคำนึงเพื่อเตรียมอาหารมื้อแรกของลูกอย่างเหมาะสม เราจึงได้รวบรวมทุกข้อควรรู้และเคล็ดลับการเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกมาฝากเหล่าพ่อแม่มือใหม่กัน…