Search
Close this search box.
ปรอทวัดไข้

พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด

อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้ ตัวช่วยวัดอุณหภูมิเวลาที่ลูกน้อยป่วย มีไข้ หรือตัวร้อน สามารถใช้วัดเพื่อดูว่าลูกกำลังมีไข้สูงที่เป็นอันตรายอยู่หรือเปล่า แต่ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กที่เราเห็นกันทั่วไปมีหลายแบบ อาจทำให้พ่อแม่เกิดความสับสนในการเลือกใช้งานได้ วันนี้ Cotton Baby เลยมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาแชร์ให้ว่าปรอทวัดไข้แต่ละแบบมีการใช้งานอย่างไรบ้าง

ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา (ปรอทแก้ว)
  1. ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา (ปรอทแก้ว)

ปรอทวัดไข้ธรรมดา หรือปรอทแก้ว ปรอทประเภทนี้สามารถใช้วัดอุณหภูมิได้ 3 วิธี ก่อนวัดควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง และควรตรวจสอบว่าแถบบอกอุณหภูมิอยู่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ด้วยการสะบัดปรอทวัดไข้ก่อนใช้งาน

  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางก้น เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด โดยก่อนสอดปรอทวัดไข้เข้าไปในก้นจำเป็นต้องนำปรอทวัดไข้มาทาสารหล่อลื่นก่อน เพื่อลดการเสียดสี สอดอย่างระมัดระวังด้วยระยะความลึกประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร ค้างไว้ 2 นาที ให้ค่าอุณหภูมิหยุดนิ่ง การวัดทางก้นให้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำสูงกว่าตำแหน่งอื่น แต่ควรใช้อย่างระวังหากสอดลึกเกินไปอาจทำให้ลูกเจ็บได้ค่ะ
  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางรักแร้ เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยนำปรอทวัดไข้สอดเข้าไปในรักแร้ให้ปลายปรอทอยู่บริเวณกึ่งกลางของรักแร้ หนีบไว้ประมาณ 4 นาที จนกว่าค่าอุณหภูมิจะหยุดนิ่งแล้วค่อยนำออกมา
  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางปาก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปี ขึ้นไป โดยนำปรอทวัดไข้สอดเข้าปากบริเวณใต้ลิ้น ให้ลูกอมไว้ประมาณ 3-4 นาที จนกว่าค่าอุณหภูมิจะหยุดนิ่ง

ข้อดี-ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้แบบธรรมดา : หาซื้อง่าย ราคาไม่แพง แต่มีความเปราะบาง แตกง่าย ไม่แนะนำให้ใช้กับเด็กเล็กที่ยังอมไม่เป็น เพราะมีโอกาสเกิดอันตรายได้ ซึ่งช่วงแรกที่ใช้ปรอทวัดไข้แบบนี้จะรู้สึกว่าอ่านค่ายาก

ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล
  1. ปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล

ปรอทวัดไข้แบบดิจิตอลเป็นปรอทที่พ่อแม่หลายคนเลือกใช้หรือมีติดบ้านไว้ เพราะสามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุ มีการใช้งานคล้ายกับปรอทวัดไข้แบบธรรมดา แต่ปรอทวัดไข้ดิจิทัลจะอ่านค่าได้แม่นยำมากกว่า ด้วยหน้าปัดที่แสดงผลเป็นตัวเลขดิจิทัล และมีเสียงเตือนเมื่อค่าอุณหภูมิหยุดนิ่ง นอกจากนี้ยังวัดได้หลายจุดในร่างกายอีกด้วย

  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางรักแร้ เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด โดยการหนีบปลายเทอร์โมมิเตอร์ไว้ที่ใต้รักแร้ เป็นวิธีที่สะดวกและง่ายที่สุด
  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางก้น เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด ควรสอดปลายเทอร์โมมิเตอร์อย่างระมัดระวัง ป้องกันไม่ให้ลูกเจ็บ
  • วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางปาก เหมาะสำหรับเด็กที่สื่อสารได้แล้ว โดยวัดอุณหภูมิจากการสอดปลายเทอร์โมมิเตอร์ให้อยู่ใต้ลิ้น

ข้อดี-ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้แบบดิจิทัล : อ่านค่าง่าย และสะดวกด้วยเสียงเตือนเมื่อครบกำหนดวัดอุณหภูมิ แต่ต้องระวังในการเก็บรักษา ห้ามล้างน้ำ เนื่องจากเป็นเครื่องดิจิทัล และราคาสูงกว่าปรอทวัดไข้แบบธรรมดา

ปรอทวัดไข้ชนิดแถบเทป
  1. ปรอทวัดไข้ชนิดแถบเทป

แถบเทปวัดไข้เป็นแถบวัดอุณหภูมิที่สามารถอ่านค่าได้อย่างรวเร็ว สะดวก และปลอดภัย โดยก่อนวัดไข้ต้องทำความสะอาดผิวบริเวณหน้าผากให้เรียบร้อย จากนั้นแปะเทปลงตรงกลางแล้วกดเบา ๆ ให้แผ่นสนิทกับหน้าผาก ทิ้งไว้ประมาณ 15 วินาที เทปจะอ่านค่าแล้วตัวเลขจะค่อย ๆ ปรากฏชัดขึ้น สามารถอ่านค่าอุณหภูมิหลังจากตัวเลขหยุดนิ่งได้เลย

ข้อดี-ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้ชนิดแถบเทป : ใช้งานง่าย วัดสะดวกโดยไม่ต้องคอยลูกให้ความร่วมมือ แต่อาจให้ผลลัพธ์ที่คลาดเคลื่อนได้หากใช้ไม่ถูกวิธี ไม่ว่าจะเป็น ใช้ขณะที่ผิวลูกมีเหงื่อ หรือแปะเทปผิดตำแหน่ง

ปรอทวัดไข้ชนิดเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด
  1. ปรอทวัดไข้ชนิดเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด

ปรอทวัดไข้หรือเครื่องวัดไข้ประเภทนี้ นิยมใช้กันมากในปัจจุบัน เพราะสะดวก ใช้งานง่าย และอ่านค่าได้แม่นยำ สามารถใช้ได้กับทุกช่วงอายุ แต่แนะนำเริ่มต้นใช้กับลูกน้อยวัย 3 ขวบ ขึ้นไปจะดีกว่า โดยเครื่องวัดอุณหภูมิจะอ่านค่าความร้อนอินฟราเรดจากด้านในของหู หรือหน้าผาก

ข้อดี-ข้อเสีย ของปรอทวัดไข้ชนิดเครื่องวัดอุณหภูมิแบบอินฟราเรด : ใช้งานง่าย อ่านค่าไว โดยเฉพาะเครื่องอินฟาเรดที่มีแสงสีฟ้าสำหรับวัดไข้ลูก เพียงกดปุ่มแล้วจ่อที่หน้าผาก เครื่องจะอ่านค่าได้อย่างแม่นยำ สามารถวัดขณะที่ลูกหลับได้โดยไม่รบกวนทำให้ตื่น แต่สำหรับเครื่องวัดทางหู อาจอ่านค่าคลาดเคลื่อนหากใช้กับเด็กอายุน้อยที่ยังมีรูหูขนาดเล็กอยู่ และมีราคาสูงกว่าปรอทวัดไข้ชนิดอื่น

วิธีอ่านค่าปรอทวัดไข้

พ่อแม่บางคนที่ยังไม่แน่ใจว่าอุณหภูมิเท่าไหร่ถึงจะถือว่าลูกกำลังมีไข้สูง เราเลยทำการเทียบองศามาให้ดูกันค่ะว่าปรอทวัดไข้แสดงผลลัพธ์เท่านี้เรียกว่ามีไข้ระดับไหน

41 องศาเซลเซียส ขึ้นไป = ไข้สูงมาก

39-41 องศาเซลเซียส = ไข้สูง 

38-39 องศาเซลเซียส = ไข้ปานกลาง

37-38 องศาเซลเซียส = ไข้เล็กน้อย

36.5-37 องศาเซลเซียส = อุณหภูมิปกติ

35.5-36.5 องศาเซลเซียส = อุณหภูมิต่ำกว่าปกติ

เราก็ได้ทราบกันแล้วนะคะว่าปรอทวัดไข้มีกี่แบบ ใช้งานอย่างไรบ้าง อย่างไรก็ตามพ่อแม่ควรมีปรอทวัดไข้ติดบ้านเอาไว้ เพื่อป้องกันเหตุฉุกเฉินเกิดลูกมีไข้ขึ้นมา เราจะได้สังเกตระดับอาการได้ว่าลูกมีไข้สูงแค่ไหน หากเป็นอันตรายจะได้พาไปโรงพยาบาลได้ทันเวลาค่ะ โดยเฉพาะในฤดูฝนที่มีโอกาสทำให้ลูกป่วยได้ง่าย ชวนพ่อแม่เตรียมรับมือ “ 7 โรคหน้าฝนเสี่ยงต่อหนูน้อย ”

SHARE

RELATED POSTS

7 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมืออารมณ์คนท้องแปรปรวน ทำตามนี้ได้ผลดีแน่นอน…
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย…