Search
Close this search box.
พ่อแม่ระวังลูกโดนไฟดูด

ลูกโดนไฟดูด ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม | Advertorial

เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอาจเป็นตัวการภัยร้ายแรงแก่เด็กวัยกำลังซน เพราะพื้นฐานพฤติกรรมของเด็กน้อยนั้น พอเห็นอะไรก็อยากจะเอามือไปจับไปสัมผัสอยู่เสมอ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เผลอละสายตาแม้แต่นิดเดียวก็อาจเกิดอันตรายจากไฟดูดได้นะ

ผลสำรวจของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในประชากรเด็กเสียชีวิตจากไฟดูดสูงเป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุทางจราจรและการจมน้ำ จึงถือว่าไฟดูดเป็นภัยที่ใกล้ตัวมาก ๆ ดังนั้นเพื่อปกป้องลูกน้อยจากอุบัติเหตุทางไฟฟ้า Cotton Baby จึงได้นำเกร็ดความรู้ วิธีป้องกัน และข้อควรปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์ไฟดูดมาฝากกันค่ะ

ลูกโดนไฟดูด

ไฟดูดคืออะไร

ไฟดูด คือ การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดิน ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้า และระยะเวลาที่โดนไฟดูด เมื่อร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมา จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง มีแผลไหม้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเต้นอ่อนลงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของไฟดูดก็เกิดได้จากหลายกรณี เช่น สัมผัสกระแสไฟที่รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้า สัมผัสสายไฟหรือโลหะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น

พฤติกรรมของลูกเสี่ยงไฟดูด

พ่อแม่ต้องระวัง! พฤติกรรมไหนของลูกที่เสี่ยงโดนไฟดูด

คุณพ่อคุณแม่ต้องพึงระวังและคอยสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงของลูก โดยเฉพาะเด็กเล็กวัยกำลังซนยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเขาพร้อมจะยื่นมือน้อย ๆ ไปสัมผัสกับสิ่งรอบตัวตลอดเวลา หากปล่อยให้คลาดสายตาอาจเกิดอันตรายได้ โดยตัวอย่างพฤติกรรมของลูกที่เสี่ยงโดนไฟดูด มีดังนี้

  • ใช้นิ้วมือ แหย่เข้าไปในช่องปลั๊กไฟ หรือวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ส้อม กิ๊บหนีบผม
  • ใช้มือจับบริเวณสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด
  • ใช้มือจับเครื่องใช้ไฟฟ้าขณะที่ร่างกายเปียก
  • ใช้ฟันกัดแทะบริเวณสายไฟ
วิธีป้องกันไฟดูดในบ้าน

วิธีป้องกันไม่ให้เกิดไฟดูดในบ้าน

  • ตรวจสอบปลั๊กไฟและเครื่องใช้ไฟฟ้าในบ้านให้คงสภาพสมบูรณ์เสมอ หากชำรุดให้รีบซ่อมทันที
  • เก็บเครื่องใช้ไฟฟ้าและสายไฟให้มิดชิด สร้างสภาพแวดล้อมในบ้านให้ปลอดภัยสำหรับลูก
  • คอยสังเกตและระวังพฤติกรรมเสี่ยงของลูกที่อาจทำให้โดนไฟดูด และสอนให้เห็นถึงอันตรายจากการใช้ไฟฟ้าที่ไม่เหมาะสม และต้องใช้อย่างระมัดระวังทุกครั้ง
การใช้ไฟฟ้าปลอดภัย ป้องกันไฟดูด

เรียนรู้การใช้ไฟฟ้าให้ปลอดภัย อีกแนวทางป้องกันไฟดูด

นอกจากวิธีป้องกันเหตุไฟดูดที่แนะนำไว้ข้างต้น การตระหนักรู้และเข้าใจการใช้ไฟฟ้าอย่างถูกต้องก็ถือเป็นสิ่งสำคัญนะคะ ซึ่งสามารถเรียนรู้ผ่านเว็บไซต์โครงการ safesavethai โดยการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ PEA ที่ได้รวบรวมสาระน่ารู้ต่าง ๆ เกี่ยวกับไฟฟ้าในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะการใช้ไฟฟ้าอย่างปลอดภัย รวมถึงได้แนะนำวิธีช่วยป้องกันเหตุไฟดูดในบ้านไว้ดังนี้

  • ติดตั้งสายดิน เพื่อนำกระแสไฟฟ้าไหลลงดินแทนไหลเข้าสู่ร่างกาย
  • ติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว (Residual current Device: RCD) เพื่อตัดวงจรไฟฟ้าในกรณีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าออกไม่เท่ากัน ทำให้เกิดกระแสไฟรั่วที่เป็นสาเหตุหนึ่งของไฟดูด
วิธีช่วยเหลือเด็กโดนไฟดูด

วิธีช่วยเหลือเด็กโดนไฟดูด และการปฐมพยาบาลเบื้องต้น

ถึงแม้ว่าเราจะระมัดระวังกันมากแค่ไหน แต่อุบัติเหตุก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจคาดเดาได้เลย ฉะนั้นหากเกิดเหตุลูกโดนไฟดูด สิ่งแรกคุณพ่อคุณแม่ต้องตั้งสติให้มั่น อย่าผลีผลามเข้าไปโดนตัวลูกในทันที ควรปฏิบัติตามขั้นตอนช่วยเหลือที่ถูกต้อง ตามข้อแนะนำจากเซฟไทย คลิกอ่านที่นี่

  1. ตั้งสติ รีบตัดต้นตอของกระแสไฟในที่เกิดเหตุ เช่น สับคัตเอาต์ สับสวิตช์
  2. ห้ามสัมผัสตัวเด็กที่โดนไฟดูดโดยตรงเด็ดขาด
  3. ใช้ผ้าหรือไม้แห้งดันตัวเด็กออก หรือเขี่ยสายไฟให้พ้นจากตัว
  4. โทรแจ้ง 1669 เพื่อนำส่งโรงพยาบาล ระหว่างนี้หากเด็กหมดสติ หยุดหายใจหรือมีภาวะหัวใจหยุดเต้น ควรทำ CPR ทันที

ขั้นตอนการทำ CPR เบื้องต้น

  1. ให้เด็กนอนหงาย เขย่าปลุกเพื่อดูการตอบสนอง
  2. หากหมดสติให้วางประสานมือบริเวณหน้าอก แล้วเริ่มปั๊มหัวใจประมาณ 30 ครั้ง
  3. ปั๊มหัวใจสลับกับเป่าปากช่วยหายใจไปเรื่อย ๆ จนกว่าหน่วยกู้ภัยจะมาถึง

นอกจากนี้เพื่อให้การใช้ไฟฟ้าในบ้านปลอดภัยมากขึ้นกว่าเดิม คุณพ่อคุณแม่สามารถเข้าไปติดตามเกร็ดความรู้เกี่ยวกับการใช้ไฟฟ้าในชีวิตประจำวันเพิ่มเติม ทั้งในเว็บไซต์ safesavethai และช่องทางอื่น ๆ ได้ที่

คุณพ่อคุณแม่ก็รู้แล้วว่าภัยทางไฟฟ้าอย่างไฟดูดนั้นอันตรายและใกล้ตัวมาก จึงไม่ควรละเลยพฤติกรรมเสี่ยงต่าง ๆ ของลูกน้อย และที่สำคัญควรระมัดระวังทุกครั้งเมื่อใช้ไฟฟ้า รวมถึงเรียนรู้การใช้ไฟฟ้าที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อความปลอดภัยของทุกคนในครอบครัวนะคะ

SHARE

RELATED POSTS

7 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมืออารมณ์คนท้องแปรปรวน ทำตามนี้ได้ผลดีแน่นอน…
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย…
พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้…