Search
Close this search box.

พ่อแม่ต้องระวัง! ไวรัส RSV เชื้ออันตราย ทำร้ายเด็กเล็กโดยไม่รู้ตัว

RSV

พ่อแม่ต้องระวัง! ไวรัส RSV เชื้ออันตรายทำร้ายเด็กเล็กโดยไม่รู้ตัว ช่วงปลายฝนต้นหนาวแบบนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรระวังโรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจที่มาจากไวรัสตัวร้าย RSV มักระบาดและมีอาการรุนแรงโดยเฉพาะกับ ‘เด็กเล็ก’ ที่อายุต่ำกว่า 5 ขวบ หากไม่รู้จักอาการของ RSV มาก่อน เราจะไม่เอะใจเลย เพราะว่าอาการคล้ายกับไข้หวัดปกติทั่วไปเลยค่ะ แต่ความจริงแล้ว เชื้อไวรัสชนิดนี้สามารถก่อให้เกิดอาการอันตรายถึงชีวิตได้เลย ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่ควรหมั่นสังเกตอาการของลูกอย่างใกล้ชิด หากมีอาการสัญญาณเตือนว่าเป็น RSV ควรพาพบแพทย์อย่างเร็วที่สุด ไวรัส RSV คืออะไร Respiratory Syncytial Virus หรือ RSV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่ก่อให้เกิดโรคในระบบทางเดินหายใจ โดยเฉพาะในเด็กเล็ก มักระบาดช่วงปลายฝนต้นหนาว เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจสามารถติดต่อได้ง่ายผ่านสารคัดหลั่ง ส่งผลให้เด็ก ๆ มีอาการเหนื่อย หอบ หายใจลำบากได้อย่างรวดเร็ว เฝ้าระวัง 7 อาการสัญญาณเตือนโรคร้าย RSV เชื้อ RSV สามารถติดต่อผ่านสารคัดหลั่งต่าง ๆ ในร่างกาย เช่น น้ำมูก น้ำลาย ละอองจากการไอ จาม […]

พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด

ปรอทวัดไข้

พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้ ตัวช่วยวัดอุณหภูมิเวลาที่ลูกน้อยป่วย มีไข้ หรือตัวร้อน สามารถใช้วัดเพื่อดูว่าลูกกำลังมีไข้สูงที่เป็นอันตรายอยู่หรือเปล่า แต่ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กที่เราเห็นกันทั่วไปมีหลายแบบ อาจทำให้พ่อแม่เกิดความสับสนในการเลือกใช้งานได้ วันนี้ Cotton Baby เลยมีข้อมูลที่เป็นประโยชน์มาแชร์ให้ว่าปรอทวัดไข้แต่ละแบบมีการใช้งานอย่างไรบ้าง ปรอทวัดไข้แบบธรรมดา (ปรอทแก้ว) ปรอทวัดไข้ธรรมดา หรือปรอทแก้ว ปรอทประเภทนี้สามารถใช้วัดอุณหภูมิได้ 3 วิธี ก่อนวัดควรทำความสะอาดด้วยแอลกอฮอล์ก่อนทุกครั้ง และควรตรวจสอบว่าแถบบอกอุณหภูมิอยู่ต่ำกว่า 36 องศาเซลเซียส ด้วยการสะบัดปรอทวัดไข้ก่อนใช้งาน วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางก้น เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด โดยก่อนสอดปรอทวัดไข้เข้าไปในก้นจำเป็นต้องนำปรอทวัดไข้มาทาสารหล่อลื่นก่อน เพื่อลดการเสียดสี สอดอย่างระมัดระวังด้วยระยะความลึกประมาณ 1.25 – 2.5 เซนติเมตร ค้างไว้ 2 นาที ให้ค่าอุณหภูมิหยุดนิ่ง การวัดทางก้นให้ค่าอุณหภูมิที่แม่นยำสูงกว่าตำแหน่งอื่น แต่ควรใช้อย่างระวังหากสอดลึกเกินไปอาจทำให้ลูกเจ็บได้ค่ะ วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางรักแร้ เหมาะสำหรับเด็กแรกเกิด – 5 ปี โดยนำปรอทวัดไข้สอดเข้าไปในรักแร้ให้ปลายปรอทอยู่บริเวณกึ่งกลางของรักแร้ หนีบไว้ประมาณ 4 นาที จนกว่าค่าอุณหภูมิจะหยุดนิ่งแล้วค่อยนำออกมา วิธีใช้ปรอทวัดไข้แบบธรรมดาด้วยการวัดไข้ทางปาก เหมาะสำหรับเด็กอายุ 5 ปี […]

รู้จักผื่นกุหลาบในเด็ก โรคผิวหนังช่วงหน้าฝนที่พ่อแม่ควรระวัง

ผื่นกุหลาบ

รู้จักผื่นกุหลาบในเด็ก โรคผิวหนังช่วงหน้าฝนที่พ่อแม่ควรระวัง คุณพ่อคุณแม่เคยได้ยินผื่นในเด็กที่ชื่อว่า “ผื่นกุหลาบ” กันไหมคะ โรคผื่นผิวหนังชนิดนี้เรียกได้ว่าเป็นโรคยอดฮิตของเด็กในช่วงหน้าฝนเลยก็ได้ค่ะ แต่อย่าเพิ่งเป็นกังวลไปว่าโรคผื่นกุหลาบจะร้ายแรง เพราะมันสามารถหายเองได้ วันนี้เราจึงอยากพาไปรู้จักกับโรคนี้กัน โดยเฉพาะถ้าใครเป็นคุณแม่มือใหม่ควรจะต้องรู้และเตรียมตัวรับมือกับโรคผื่นกุหลาบนะคะ โรคผื่นกุหลาบ คืออะไร ? ผื่นกุหลาบ (Pityriasis Rosea) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อว่า ส่าไข้ เป็นโรคผิวหนังชนิดหนึ่งที่มักพบได้บ่อยในเด็กเล็กที่อายุน้อยกว่า 2 ปี ซึ่งเคยพบโรคผื่นกุหลาบในเด็กทารกที่อายุเพียง 3 เดือนอีกด้วย และสามารถพูดได้เลยว่าเด็กเล็กเกือบทุกคนจะต้องเคยเป็นโรคนี้ เอาหล่ะค่ะเมื่อรู้แบบนี้แล้วคุณแม่มือใหม่จึงไม่ควรมองข้ามโรคผื่นกุหลาบนะคะ เรามาดูสาเหตุและอาการกันต่อเลยค่ะ ผื่นกุหลาบมีสาเหตุจากอะไร เกิดจากการติดเชื้อไวรัสฮิวแมนเฮอร์ปีส์ชนิดที่ 6 และชนิดที่ 7 (Human Herpesvirus Type 6, 7) – ที่อยู่ในน้ำลาย และเสมหะ แพร่กระจายโดยการไอ จาม รวมถึงสัมผัสทางตรงและทางอ้อม เช่น เล่นของเล่นที่มีเชื้อไวรัสติดอยู่ แล้วเอามือมาขยี้ตา จับจมูก หรือเอามือเข้าปากก็สามารถติดเชื้อได้ การทำความสะอาดของเล่นเด็ก – เพราะเด็กเล็กมักจะชอบกัดสิ่งของ ทำให้มีเชื้อโรคและไวรัสอาจติดมาได้ หากไม่ทำความสะอาดหลังจากที่ลูกเล่นเสร็จ อาจทำให้มีเชื้อโรคสะสมอยู่ และก่อให้เกิดเป็นผื่นกุหลาบได้ค่ะ […]

อันตรายกว่าที่คิด เช็กลิสต์สัญญาณ ‘ลูกขาดสารอาหาร’

ลูกขาดสารอาหาร

อันตรายกว่าที่คิด เช็กลิสต์สัญญาณ ‘ลูกขาดสารอาหาร’ การได้รับสารอาหารครบถ้วนทั้ง 5 หมู่ โปรตีน คาร์โบไฮเดรต แร่ธาตุ วิตามิน และไขมัน ถือเป็นเรื่องพื้นฐานที่ลูกควรได้รับ ช่วยให้ร่างกายแข็งแรง สุขภาพดี ป้องกันลูกขาดสารอาหารที่จำเป็น ซึ่งโดยปกติแล้วร่างกายเด็กต้องการวิตามินและแร่ธาตุให้เพียงพอต่อร่างกาย หากขาดวิตามินตัวใดตัวหนึ่งไปอาจส่งผลต่อพัฒนาการให้ช้าลง ไม่เป็นไปตามวัย ส่อง 7 สัญญาณเตือนว่าลูกขาดสารอาหาร ลูกขาดสารอาหารทำให้ “ป่วยบ่อย” โดยปกติแล้วเด็กจะป่วยหรือเป็นหวัดเฉลี่ย 5-7 ครั้ง ต่อปี หากคุณพ่อคุณแม่เริ่มเอะใจว่าลูกป่วยบ่อยเกินไปจากนี้ ชนิดที่ว่านับวันที่ไม่ป่วยยังง่ายกว่า อาจมีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส และภูมิคุ้มกันของร่างกายที่ยังไม่แข็งแรงมากพอ เพราะลูกขาดสารอาหารจำเป็นต่อร่างกายอย่างผัก และผลไม้ ควรทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อให้ร่างกายมีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี “กินยาก เบื่ออาหาร” ปัจจัยทำให้ลูกขาดสารอาหาร หากลูกมีอาการเบื่ออาหาร กินยาก หรือเลือกกิน อาจทำให้ลูกขาดสารอาหาร ได้รับวิตามินและแร่ธาตุไม่เพียงพอต่อร่างกาย เพราะลูกจะเลือกกินเฉพาะเมนูเดิม ๆ หรือเมนูที่ชอบ สารอาหารจึงไม่ครบถ้วน คุณพ่อคุณแม่จึงต้องรู้วิธี รับมือกับ ‘ลูกกินยาก’ ปัญหายอดฮิตที่พ่อแม่ต้องเจอ เมื่อลูกขาดสารอาหารส่งผลให้ “ผอม […]

5 วิธีป้องกัน อาการลูกแหวะนมที่พ่อแม่ต้องเจอในเด็กแรกเกิด

ลูกแหวะนม

5 วิธีป้องกัน อาการลูกแหวะนมที่พ่อแม่ต้องเจอในเด็กแรกเกิด อาการลูกแหวะนม เป็นอาการปกติที่พ่อแม่สามารถพบได้ในเด็กทารกแรกเกิดโดยเฉพาะช่วง 4 เดือนแรก หลังจากนั้นอาการลูกแหวะนมจะเริ่มดีขึ้นและหายได้เองในช่วงอายุ 12-18 เดือน แต่ระหว่างนี้ถ้าลูกแหวะนมบ่อยมากเกินไปจนผิดสังเกต พ่อแม่ไม่ควรปล่อยเอาไว้นะคะ เพราะอาจเป็นสัญญาณเตือนปัญหาสุขภาพของลูกก็ได้ เรามาทำความเข้าใจอาการลูกแหวะนมกันก่อนดีกว่าว่ามันเกิดขึ้นจากอะไรแล้วมีวิธีป้องกันอย่างไรบ้าง รู้จักอาการลูกแหวะนม ลูกแหวะนม คือ อาการที่ลูกบ้วนนมออกมาในระหว่างหรือหลังดูดนม สาเหตุที่ลูกแหวะนมเกิดจากลูกดูดนมในปริมาณมาก กระเพาะที่ยังเล็กจึงไม่มีพื้นที่รองรับปริมาณน้ำนม และกล้ามเนื้อหูรูดของกระเพาะอาหารก็ยังทำงานได้ไม่เต็มที่ทำให้ลูกแหวะนมนั่นเองค่ะ อย่างที่เราได้บอกไว้ตอนต้นว่าอาการลูกแหวะนมจะหายไปได้เองเมื่อลูกโตขึ้น แต่ระหว่างนั้นถ้าลูกแหวะนมบ่อยขึ้นร่วมกับแสดงอาการที่ผิดปกติก็มีโอกาสเป็นภาวะโรค GERD หรือกรดไหลย้อนได้ ซึ่งเป็นอาการของเหลวในกระเพราะไหลย้อนมายังหลอดอาหาร และอาจเป็นไปได้ว่าอาการเหล่านี้จะกลายเป็นภาวะแทรกซ้อนในระบบทางเดินหายใจ หรือ ระบบทางเดินอาหาร *อาการลูกแหวะนมอาจเกิดขึ้นจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่กรดไหลย้อน บางทีอาจเกิดจากลูกแพ้นมวัว หรือร่างกายย่อยน้ำตาลแลกโตส (Lactose) ได้ไม่ดี ซึ่งจะแสดงอาการที่ต่างออกไป เช่น ผื่นขึ้น ผิวหนังอักเสบ ปวดท้อง ท้องอืด ท้องผูก หรือถ่ายเหลว ถ่ายปนเลือด ถ้ามีอาการเหล่านี้เพิ่มเข้ามาก็มีโอกาสที่ลูกจะแพ้นมวัวได้ ควรพาน้องไปตรวจหาสาเหตุเพื่อได้รับการรักษาที่ถูกต้องจะดีกว่านะคะ วิธีสังเกตอาการลูกแหวะนมปกติ กับ โรค GERD ลูกแหวะนมปกติ – ของเหลวที่ออกมาจะมีลักษณะสีขาวคล้ายลิ่มเต้าหู้ ไม่ปนเลือดหรือน้ำดีออกมาด้วย ลูกแหวะนมในภาวะโรค GERD […]

ชวนพ่อแม่เตรียมรับมือ “ 7 โรคหน้าฝนเสี่ยงต่อหนูน้อย ”

โรคหน้าฝน โรคเด็ก

ใกล้เข้าฤดูฝนแล้ว โรคหน้าฝนมากมายที่เสี่ยงต่อหนูน้อยก็พากันตามมาด้วย คุณพ่อคุณแม่จึงต้องเตรียมรับมือ ดูแลลูกเป็นพิเศษ เรามีโรคเสี่ยงและวิธีป้องกันมาฝาก