Search
Close this search box.
อาหารมื้อแรกของลูก

รวมเคล็ดลับการให้อาหารมื้อแรกของลูกที่พ่อแม่มือใหม่ควรรู้!

การเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกน้อยนับเป็นก้าวสำคัญในการช่วยส่งเสริมโภชนาการและพัฒนาการของเจ้าตัวเล็ก พ่อแม่มือใหม่มือใหม่หลายคนอาจเป็นกังวลและมีคำถามมากมายเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เหมาะสมที่และข้อควรคำนึงเพื่อเตรียมอาหารมื้อแรกของลูกอย่างเหมาะสม เราจึงได้รวบรวมทุกข้อควรรู้และเคล็ดลับการเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกมาฝากเหล่าพ่อแม่มือใหม่กัน

อาหารมื้อแรกของลูกนั้นสำคัญอย่างไร?

ความสำคัญ อาหารมื้อแรกของลูก

การเริ่มต้นให้ลูกน้อยได้ทานอาหารแข็ง หรือ Solid Food คือการทานอาหารมื้อแรกของลูกที่ไม่ใช่นมแม่ จะช่วยให้ลูกได้รับประโยชน์มากมาย ดังนี้

  1. อาหารมื้อแรกของลูกเป็นตัวช่วยให้ลูกได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตอย่างครบถ้วน
  2. การเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกส่งเสริมพัฒนาการทางช่องปาก ลิ้น ฟัน และกรามให้แข็งแรงยิ่งขึ้น ซึ่งนอกจากจะเป็นประโยชน์ต่อการทานอาหารแล้ว ยังส่งเสริมทักษะในการพูดอีกด้วย
  3. อาหารมื้อแรกของลูกเป็นการปรับตัวเพื่อเตรียมความพร้อมสำหรับการทานอาหารในวัยที่โตขึ้น

อาหารมื้อแรกของลูกควรเริ่มต้นเมื่อไหร่?

อาหารมื้อแรกของลูก ช่วงเวลา

ช่วงเวลาที่เหมาะสมสำหรับการเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูก คือช่วงที่ลูกอายุครบ 6 เดือนขึ้นไป โดยในช่วง 6 เดือนแรก ควรให้ลูกทานแต่นมแม่เท่านั้น เนื่องจากร่างกายของทารกยังไม่พร้อมต่อการเคี้ยวอาหาร รวมถึงนมแม่ยังช่วยป้องกันอันตรายที่อาจเกิดกับระบบย่อยอาหารของลูกได้ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตสัญญาณความพร้อมอื่น ๆ ไปควบคู่กัน เช่น

  1. สามารถนั่งหรือตั้งลำตัวตรงได้เอง
  2. สามารถมองเห็นและหยิบอาหารเองได้
  3. มีพัฒนาการในการหยิบจับสิ่งของ และเริ่มหยิบจับสิ่งของเข้าปาก
  4. รู้จักที่จะอ้าปาก เมื่อนำสิ่งของเข้าใกล้ปาก
  5. กลืนอาหารได้ โดยไม่คายออก

ปรับอาหารมื้อแรกของลูกตามช่วงวัยเริ่มต้นอย่างไรดี?

เด็กแต่ละวัยมีความสามารถในการรับอาหารได้แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับพัฒนาการทางร่างกายและระบบย่อยอาหาร ดังนั้นการปูพื้นฐานตั้งแต่อาหารมื้อแรกของลูกและปรับเปลี่ยนอาหารให้เหมาะสมกับแต่ละช่วงวัยจึงเป็นสิ่งที่พ่อแม่ทุกคนไม่ควรมองข้าม ซึ่งสามารถดูตัวอย่างได้ ดังนี้

  • อาหารเด็ก 6 เดือน

ในช่วงวัย 6 เดือนแรก เด็กควรดื่มแค่นมแม่เท่านั้น และหลังจากอายุครบ 6 เดือน จึงค่อยเริ่มให้อาหารมื้อแรกของลูกควบคู่กับการทานนมแม่ ในช่วงนี้อาจเลือกให้ลูกทานอาหารแข็ง 1 มื้อ ซึ่งจะเป็นมื้อเช้า กลางวัน หรือเย็นก็ได้ โดยอาหารที่ทานควรเป็นอาหารที่ปั่นละเอียดหรือนิ่ม เช่น ข้าวสวยบดละเอียด น้ำแกง เนื้อสัตว์บด ผักบด ผลไม้บด เป็นต้น เนื่องจากฟันและกรามของลูกยังไม่แข็งแรงพอที่จะย่อยอาหารแข็ง ๆ ได้

  • อาหารเด็ก 7 เดือน

เด็กวัย 7 เดือน เป็นวัยที่ยังจำเป็นต้องทานนมแม่ควบคู่กับอาหารแข็ง 1 มื้อต่อวัน โดยอาหารที่เหมาะสมสำหรับเด็กวัยนี้จะยังคล้ายคลึงกับอาหารมื้อแรกของลูกวัย 6 เดือน แต่สามารถปรับเพิ่มปริมาณข้าวและเนื้อสัตว์ได้

  • อาหารเด็ก 8-9 เดือน

วัย 8-9 เดือนเป็นช่วงเวลาที่เด็กยังจำเป็นต้องทานนมแม่ควบคู่กับอาหารแข็ง แต่จะเป็นอาหารมื้อแรกของลูกที่สามารถเปลี่ยนจากข้าวปั่นละเอียดมาเริ่มทานข้าวสวย และเพิ่มปริมาณอาหารที่ต้องทานมากขึ้น รวมถึงสามารถรับประทานอาหารแข็งได้ 2 มื้อต่อวัน

  • อาหารเด็กวัย 10 เดือน

อาหารสำหรับเด็กวัย 10 เดือนจะมีความคล้ายกับอาหารของเด็ก 8-9 เดือน ที่สามารถทานข้าวสวยได้ และควรทานอาหารแข็ง 2 มื้อ ควบคู่กับการทานนมแม่ แต่สามารถปรับเพิ่มปริมาณเนื้อสัตว์ได้อีกนิดหน่อย

  • อาหารเด็กวัย 11 เดือน

หลังจากปูพื้นฐานอาหารมื้อแรกของลูกมาอย่างเหมาะสม เด็กในวัย 11 เดือน จะเป็นช่วงวัยแรกที่สามารถกินอาหารได้ครบ 3 มื้อ แต่ก็ยังจำเป็นต้องทานควบคู่กับนมแม่อยู่

  • อาหารเด็กวัย 12 เดือน

สำหรับอาหารของเด็กวัย 12 เดือน จะเป็นอาหารกลุ่มเดียวกับเด็กวัย 11 เดือน ที่ต้องทานอาหารแข็งควบคู่กับนมแม่ แต่สามารถเพิ่มปริมาณของอาหารให้มากขึ้นได้อีกนิดหน่อย

  • อาหารเด็ก 1 ขวบขึ้นไป

ในช่วงวัยนี้พ่อแม่ควรปล่อยให้ลูกได้ฝึกทานอาหารมื้อแรกของลูกด้วยตนเอง ถึงแม้ว่าลูกจะทานหกหรือเลอะเทอะบ้าง แต่ก็นับเป็นก้าวแรกที่สำคัญต่อพัฒนาการการทานอาหารของลูกในอนาคต โดยในวัย 1-3 ปี สามารถกินอาหารได้ 3 มื้อ ในขณะเดียวกันก็ยังสามารถดื่มนมแม่ด้วยได้อยู่

สิ่งที่ควรทำสำหรับให้อาหารมื้อแรกของลูก

สิ่งที่ควรทำ อาหารมื้อแรกของลูก
  • เริ่มป้อนอาหารมื้อแรกของลูกเมื่ออายุครบ 6 เดือน

ในช่วงวัยแรกเกิด – 6 เดือน น้ำนมแม่อาจมีสารอาหารที่เพียงต่อความต้องการของเจ้าตัวเล็ก แต่เมื่ออายุ 6 เดือนขึ้นไป เด็กอาจต้องการสารอาหารที่หลากหลายยิ่งขึ้น ดังนั้น พ่อแม่จึงควรเริ่มต้นป้อนอาหารมื้อแรกของลูกในช่วงอายุประมาณ 4-6 เดือน โดยต้องดูสัญญาณความพร้อมของลูกควบคู่กัน

  • เริ่มต้นอาหารมื้อแรกของลูกแบบค่อยเป็นค่อยไป

ในช่วงแรกลูกอาจทานอาหารน้อย เพียงแค่ 1-2 ช้อน เนื่องจากยังไม่คุ้นเคยกับอาหารแข็ง ดังนั้น ในช่วงแรกพ่อแม่ควรเริ่มต้นด้วยการป้อนอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวโอ๊ตผสมนมหรือข้าวบด จากนั้นจึงค่อยปรับเพิ่มส่วนผสมจำพวกเนื้อสัตว์บด หรือผักนึ่งบด

  • ปรับสัดส่วนการทานนมแม่ควบคู่กับอาหารมื้อแรกของลูก

ในช่วงแรกของการให้อาหารมื้อแรกของลูกอาจเริ่มต้นด้วยการป้อนนมในปริมาณน้อยให้เจ้าตัวน้อยก่อนมื้ออาหารเพื่อช่วยให้ลูกปรับตัวก่อนรับอาหารแข็ง เมื่อลูกคุ้นเคยกับอาหารแข็งจึงย้ายขั้นตอนการดื่มนมไปไว้หลังมื้ออาหาร และเลิกทานนมแม่คู่กับมื้ออาหารไปในท้ายที่สุด

  • เลือกอาหารรสดั้งเดิม ไม่ปรุงแต่งรสชาติ

เพื่อเลี่ยงปัญหาด้านโภชนาการ อาหารมื้อแรกของลูกควรเป็นอาหารที่เป็นรสชาติธรรมชาติ แทนที่จะผ่านการปรุงรสด้วยเกลือหรือน้ำตาล

  • สังเกตพฤติกรรมตั้งแต่อาหารมื้อแรกของลูก

การป้อนอาหารมื้อแรกของลูก พ่อแม่ควรป้อนตามจังหวะการกินของลูก โดยสังเกตความต้องการของลูกจากการที่ลูกเริ่มโน้มตัวและอ้าปากรออาหารคำต่อไป และหยุดป้อนเมื่อลูกแสดงอาการอิ่ม ในช่วงแรกพ่อแม่ยังไม่ต้องแปลกใจหากลูกทานอาหารได้น้อย เนื่องจากเป็นขั้นแรกของการสร้างความคุ้นเคยกับรสชาติและเนื้อสัมผัส

  • เริ่มป้อนอาหารมื้อแรกของลูกเมื่อลูกอารมณ์ดีและหิวเล็กน้อย

หากป้อนอาหารมื้อแรกให้ลูกน้อยขณะอารมณ์ไม่ดี เหนื่อย หรือหิวมากเกินไป ลูกอาจมีอาการต่อต้านและไม่อดทนที่จะลองสิ่งใหม่ ๆ

  • ให้ลูกได้ฝึกดื่มน้ำจากแก้วหัดดื่มพร้อมอาหารมื้อแรกของลูก

การให้ลูกได้ดื่มน้ำจากแก้วหัดดื่มตลอดทั้งวัน นอกจากจะช่วยเติมความชุ่มชื่นให้ลูกตลอดทั้งวันแล้ว ยังช่วยให้ลูกทานอาหารมื้อแรกของลูกได้คล่องคอยิ่งขึ้น

  • อาหารมื้อแรกของลูกอาจเปรอะเปื้อนหรือหกบ้าง

การปล่อยให้ลูกได้ลองทานอาหารมื้อแรกด้วยตัวเอง ได้ตักหรือหยิบอาหารเข้าปากเอง แม้ว่าจะเลอะเทอะ หรือร่วงลงพื้นไปบ้าง แต่เป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนาการทานอาหารและช่วยให้ลูกคุ้นเคยกับอาหารที่ทานมากขึ้น

  • ฝึกกิจวัตรการทานตั้งแต่อาหารมื้อแรกของลูก

การให้อาหารมื้อแรกของลูกในระยะแรก อาจเริ่มต้นด้วยการทานอาหารอ่อน 1 มื้อต่อวัน จากนั้นค่อย ๆ ปรับวัตถุดิบและเพิ่มมื้ออาหารตามพัฒนาการที่เหมาะสมกับแต่ละวัย และเมื่ออายุประมาณ 9 เดือน อาจแทรกด้วยอาหารว่างมื้อเล็ก ๆ ระหว่างมื้ออาหาร

  • ปรึกษากุมารแพทย์ก่อนเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูก

เพื่อพัฒนาการและโภชนาการที่เหมาะสม คุณพ่อคุณแม่ควรปรึกษากุมารแพทย์เป็นประจำก่อนเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูก เนื่องจากเด็กแต่ละช่วงวัยจำเป็นต้องได้รับสารอาหารที่แตกต่างกัน

ข้อควรเลี่ยงสำหรับอาหารมื้อแรกของลูก

ข้อห้าม อาหารมื้อแรกของลูก
  • ไม่ควรใส่อาหารมื้อแรกของลูกลงในขวด

การให้ลูกทานอาหารมื้อแรกของลูกด้วยขวดนม อาจทำให้ลูกรู้สึกง่วงขณะทานอาหาร เนื่องจากจะทำให้เด็กแยกไม่ออกระหว่างนมและอาหาร รวมถึงเสี่ยงต่อการสำลัก

  • ไม่ควรเริ่มให้อาหารมื้อแรกของลูกที่มีขนาดใหญ่กว่าปลายนิ้ว

การให้ลูกทานอาหารมื้อแรกที่มีขนาดใหญ่อาจทำให้เด็กเกิดอาการสำลัก และติดคอ เช่น ไส้กรอก ถั่ว ผักดิบ ผลไม้ชิ้นใหญ่ เป็นต้น เนื่องจากลูกน้อยยังไม่สามารถเคี้ยวอาหารให้ละเอียดได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อสุขภาพและระบบย่อยอาหารของเด็ก เมื่อลูกอายุประมาณ 9 เดือนที่สามารถหยิบจับอาหารเข้าปากเองได้ อาจเริ่มให้ลูกลองทานอาหารด้วยตัวเอง เช่น เนื้อสัตว์หรือผลไม้ที่มีชิ้นเล็ก ๆ ประมาณปลายนิ้วของลูกน้อย เพื่อให้ลูกสามารถหยิบเองได้ถนัดมือและเลี่ยงการสำลัก

  • อย่าล้มเลิกความพยายามในการให้อาหารมื้อแรกของลูกด้วยการเปลี่ยนเมนูอาหารบ่อย ๆ

แม้ว่าในช่วงแรกของการให้อาหารมื้อแรกของลูก ลูกอาจปฏิเสธอาหาร แต่คุณพ่อคุณแม่ควรให้ลูกได้ลองทานเมนูเดิมอีกครั้ง หลังจากเว้นระยะไปประมาณ 1 สัปดาห์ เพื่อปลูกฝังไม่ให้ลูกไม่เลือกกิน เพราะจริง ๆ แล้วลูกอาจจะไม่ได้ไม่ชอบอาหารนั้นแต่แค่ไม่คุ้นเคย

  • อย่ากลัวที่จะเพิ่มวัตถุดิบใหม่ ๆ

เพื่อสารอาหารที่ครบถ้วน หลังจากที่ลูกเริ่มคุ้นเคยกับอาหารมื้อแรกแล้ว คุณพ่อคุณแม่อาจเพิ่มเนื้อสัตว์หรือผักบดละเอียดลงไปในอาหาร เพื่อให้ลูกได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนและเหมาะสมต่อการเจริญเติบโต

  • ไม่บังคับลูกให้กินอาหารเกินความต้องการ

การเริ่มต้นให้อาหารมื้อแรกของลูกไม่ใช่เพียงแค่การสอนให้ลูกได้รู้จักการกินอาหารเท่านั้น แต่ยังเป็นการสอนให้ลูกได้เรียนรู้การควบคุมการกินด้วยตนเองอีกด้วย และการบังคับให้ลูกกินอาหารปริมาณมากอาจทำให้เด็กเพิกเฉยต่อสัญญาณทางกาย จนนำไปสู่น้ำหนักเกินและปัญหาสุขภาพตามมาได้

  • ไม่ให้ลูกน้อยกินอาหารที่เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย

ระบบย่อยอาหารของเด็กอ่อนอาจยังไม่พร้อมรับมือกับอาหารบางประเภท เช่น นมวัว นมถั่วเหลือง หรือน้ำผึ้ง ดังนั้น จึงควรรอจนอย่างลูกจะอายุอย่างน้อย 1 ขวบ รวมถึงการรับประทานผลไม้บางประเภทที่มีกรดสูงซึ่งควรปรึกษาแพทย์ก่อน

อาหารมื้อแรกของลูกเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยให้เจ้าตัวเล็กเติบโตอย่างสมวัย ดังนั้น หน้าที่ของคนเป็นพ่อเป็นแม่อย่างเราคือการเลือกอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่เหมาะสมกับลูกน้อย และหากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมอย่าลืมปรึกษากุมารแพทย์เพื่อให้ได้รับคำแนะนำและข้อมูลที่ถูกต้อง

SHARE

RELATED POSTS

ชวนพ่อแม่ดูแลโภชนาการเด็กให้ดีสมวัย เลี่ยงภัยอ้วน-เบาหวาน | Advertorial…
ถ้าเด็กแพ้นมวัว กินนมควายแทนได้ไหม? แน่นอนว่าน้ำนมแม่คือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับลูกน้อย แต่ถ้าคุณแม่มีเหตุบางประการที่ไม่สามารถให้นมลูกเองได้…