Search
Close this search box.
มดลูกคว่ำ

มาไขข้อข้องใจกัน! มดลูกคว่ำ ทำให้มีลูกยากจริงหรือ?

คุณแม่หลายคนที่กำลังวางแผนจะมีลูกอาจเคยได้ยินว่าภาวะ ‘มดลูกคว่ำ’ เป็นหนึ่งในสาเหตุที่ทำให้คุณแม่มีลูกยาก จนเกิดความกังวล วันนี้เราจะพาเหล่าว่าที่คุณแม่ทุกท่านไปไขข้อข้องใจกันว่ามดลูกคว่ำมีผลต่อการตั้งครรภ์จริงหรือ และคุณแม่ควรทำอย่างไรเพื่อป้องกันปัญหานี้

มดลูกคว่ำคืออะไร?

มดลูกคว่ำ คือ

มดลูกคว่ำ (Anteverted Uterus) คือ ภาวะที่มดลูกอยู่ในตำแหน่งที่เอียงคว่ำลงด้านล่างมากกว่าปกติ ซึ่งแตกต่างจากตำแหน่งปกติที่มดลูกมักจะอยู่ตรงกลางหรือเอียงไปด้านหน้าและหลังเล็กน้อย ภาวะมดลูกคว่ำเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติในผู้หญิงถึง 70-75% โดยอาจขึ้นอยู่กับสรีระ พันธุกรรม ประวัติการตั้งครรภ์ หรือปัญหาสุขภาพ นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าภาวะมดลูกคว่ำจะไม่ใช่สาเหตุโดยตรงของภาวะมีบุตรยาก แต่นี่อาจเป็นสัญญาณเตือนว่าร่างกายของคุณกำลังมีปัญหาสุขภาพที่อาจส่งผลต่อการมีบุตรได้

มดลูกคว่ำทำให้มีลูกยากจริงหรือ?

มดลูกคว่ำ มีลูกยาก

สำหรับคุณแม่ที่เป็นกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์ เราขอบอกเลยว่ามดลูกคว่ำไม่ได้ทำให้คุณแม่มีลูกยากหรือเพิ่มโอกาสการแท้ง โดยจะยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติ เนื่องจากตำแหน่งของมดลูกมักจะไม่ส่งผลต่อความสามารถของอสุจิในการไปถึงไข่ ยกเว้นในบางกรณีที่มดลูกเอียงมากจนมีผลต่อการเดินทางของอสุจิซึ่งเป็นกรณีที่พบได้ยาก

โดยสาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้คุณแม่มีบุตรยากมักมาจากปัญหาสุขภาพ เช่น เยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis), เนื้องอกมดลูก (Uterine fibroids), โรคแอชเชอร์แมน (Asherman Syndrome), ภาวะถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovarian Syndrome: PCOS), เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Adenomyosis) และภาวะมีบุตรยากจากปัจจัยมดลูก (Uterine Factor Infertility) ดังนั้น หากคุณแม่มีข้อกังวลเกี่ยวกับการตั้งครรภ์หรือสุขภาพมดลูก ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำที่เหมาะสม

อาการและสาเหตุของมดลูกคว่ำ

มดลูกคว่ำ สาเหตุ อาการ

ผู้หญิงที่มีมดลูกคว่ำส่วนใหญ่จะไม่แสดงอาการใด ๆ เว้นแต่จะมีการเอียงมากจนทำให้เกิดอาการปวดหรือรู้สึกเจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยสาเหตุของการมีมดลูกคว่ำส่วนใหญ่เกิดขึ้นตามธรรมชาติตั้งแต่กำเนิด แต่บางครั้งอาจเกิดจากความผิดปกติ เช่น

  • การอักเสบติดเชื้อบริเวณอุ้งเชิงกราน ทำให้เนื้อเยื่อบวมและอักเสบ จนดันให้มดลูกคว่ำลง
  • การเป็นเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่หรือช็อกโกแลตซีสต์ อาจทำให้ตำแหน่งของมดลูกเคลื่อนที่ผิดไปจากปกติได้
  • ก้อนเนื้องอกบริเวณมดลูก อาจดันให้มดลูกเคลื่อนที่ผิดตำแหน่ง
  • พังผืดในอุ้งเชิงกราน จากการอักเสบ ติดเชื้อหรือการผ่าตัดบริเวณช่องท้อง อาจส่งผลให้มดลูกคว่ำได้

หากคุณสงสัยว่าตนเองมีมดลูกคว่ำ ควรพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจวินิจฉัย โดยแพทย์อาจใช้วิธีการตรวจภายใน หรือลองคลำบริเวณช่องคลอด ปากมดลูก มดลูก และรังไข่เพื่อตรวจสอบว่ามีความผิดปกติหรือไม่ นอกจากนี้ ยังสามารถใช้การตรวจอัลตราซาวด์ทางช่องคลอดเพิ่มเติม เพื่อยืนยันว่าว่ามดลูกมีการเอียงผิดปกติหรือไม่ ซึ่งถ้าไม่ได้มีอาการมดลูกคว่ำจนส่งผลกระทบต่อสุขภาพก็ไม่จำเป็นต้องเข้ารับการรักษา

นอกจากนี้ ถึงแม้ว่าจะไม่มีวิธีการป้องกันภาวะมดลูกคว่ำได้โดยตรง แต่เหล่าว่าที่คุณแม่ทุกคนสามารถป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากปัญหามดลูกได้ ดังนี้

วิธีป้องกันภาวะแทรกซ้อนจากมดลูกคว่ำ
  • ใช้ถุงยางอนามัยอยู่เสมอและไม่เปลี่ยนคู่นอนบ่อย ๆ เพื่อลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์
  • เข้ารับการตรวจภายในและการคัดกรองมะเร็งปากมดลูกเป็นประจำ
  • ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญหากพบว่าประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • พบแพทย์เมื่อรู้สึกไม่สบายหรือเจ็บปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง

แม้ว่าภาวะมดลูกคว่ำอาจฟังดูเป็นเรื่องน่ากังวล แต่ความจริงแล้วคุณแม่ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ตามปกติหากไม่มีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ การเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์ก่อนวางแผนครรภ์และการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงจึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่มีโอกาสได้เจอลูกน้อยตามที่ตั้งใจค่ะ

SHARE

RELATED POSTS

5 เคล็ดลับช่วยดูแล ฟื้นฟู “ผมร่วงหลังคลอด”…
กันไว้ดีกว่าแก้ กับท่าออกกำลังกายป้องกันอาการมดลูกต่ำ หลังจากคลอดลูก คุณแม่หลายคนมักจะเจอปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพต่าง…
ไขสารพันความข้องใจเกี่ยวกับ น้ำคาวปลา ที่คุณแม่มือใหม่ควรรู้ คุณแม่มือใหม่ที่ตั้งครรภ์และคลอดเป็นครั้งแรกในชีวิต…