Search
Close this search box.
โรคสมาธิสั้น ลูกซน

ลูกแค่ซนหรือโรคสมาธิสั้น
3 วิธีสังเกตพร้อมทริคดูแลที่เหมาะสม

โรคสมาธิสั้น (Attention deficit hyperactivity disorder : ADHD) มักมีสาเหตุมาจากพฤติกรรมที่ “ลูกซน” มากเกินไป อยู่ไม่นิ่ง ไม่ค่อยมีสมาธิ หุนหันพลันแล่น จนกระทบต่อการเรียนและความสัมพันธ์ ฉะนั้น คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งมองว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่ความซนจะเป็นของคู่กับเด็ก เรามาเช็กลิสต์กันหน่อยว่า ลูกซนแค่ไหนถึงเข้าข่ายเป็นโรคสมาธิสั้น

โรคสมาธิสั้น คืออะไร?

โรคสมาธิสั้น เกิดจากสมองส่วนหน้าทำงานได้น้อยกว่าเด็กปกติ ซึ่งมีหน้าที่ควบคุมสมาธิจดจ่อ จัดลำดับขั้นตอน การยับยั้งชั่งใจ และการเคลื่อนไหวของร่างกาย สาเหตุที่สมองส่วนหน้าทำงานได้น้อย เพราะสารสื่อประสาทอย่าง Dopamine และ Norepinephrine หลั่งออกมาน้อย ทำให้เกิดความไม่สมดุล มีปัจจัยมาจากทั้งทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม ไม่ได้เกิดจากการเลี้ยงดูหรือความกดดันจากพ่อแม่อย่างที่หลายคนเข้าใจนะคะ

เช็กลิสต์ ลูกซนแค่ไหน เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น

เช็กลิสต์ ลูกซนแค่ไหน เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น

โดยปกติแล้วโรคสมาธิสั้นประกอบด้วย 3 พฤติกรรมคือ ซนมาก ไม่มีสมาธิ และหุนหันพลันแล่น อาจมีอาการเพียงอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือมีครบทุกอาการก็ได้ จะต้องแสดงอาการก่อนเด็กอายุ 12 ปี ซึ่งมักพบได้บ่อยในเด็กที่มีอายุ 3 – 7 ปี แต่สำหรับเคสที่เป็นไม่มากจะแสดงอาการหลังอายุ 7 ปีขึ้นไป

1. ลูกซนมาก อยู่ไม่นิ่ง เข้าข่ายโรคสมาธิสั้น

ในแต่ละวันลูกจะวิ่งเล่นแบบไม่หยุด ไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย หรือยุกยิกตลอดเวลา อยู่นิ่งไม่ได้ นั่งไม่ติดที่ เดินไปเดินมาตลอด และที่สำคัญลูกจะชอบเล่นอะไรที่เสี่ยงกว่าปกติ เล่นแรง ไม่กลัวเจ็บ ถ้าเป็นในวัยที่เข้าโรงเรียนแล้ว อาจส่งผลให้เพื่อน ๆ ไม่กล้าเล่นด้วย

2. สมาธิสั้น วอกแวกได้ง่าย

ลูกจะทำอะไรนาน ๆ ไม่ได้ เปลี่ยนกิจกรรมบ่อย วอกแวกง่าย อะไรผ่านก็หันไปมองตลอด เวลามีคนคุยด้วยจะทำเหมือนไม่ได้ฟังอยู่ ทำของหายบ่อยเพราะจำไม่ได้ว่าเอาไปไว้ที่ไหน และจะเห็นได้ชัดเมื่อลูกไปโรงเรียน คุณครูจะบอกเลยว่าลูกมีอาการเหม่อ เรียกชื่อแล้วไม่ตอบรับ และฟังประโยคยาว ๆ ได้ไม่จบ จะจับใจความได้เพียงช่วงแรกของประโยคเท่านั้น ทำให้ส่งผลต่อการเรียน เปิดรับความรู้ใหม่ ๆ ได้ไม่เท่าที่ควร ทำการบ้านไม่เสร็จ หรือมีตกหล่น

3. โรคสมาธิสั้นมักจะหุนหันพลันแล่น คิดอะไรก็ทำเลย

ลูกจะรอคอยไม่เป็น เวลาคิดอะไรได้มักจะทำทันที หรือถ้าต้องทำอะไรที่ช้าหรือใช้เวลานาน จะไม่ค่อยอยากทำและไม่อดทนที่จะทำสักเท่าไหร่ ทำให้เวลาพูดคุยจะชอบพูดสวนกลางบทสนทนา ตอบก่อนที่จะถามจบ อาจทำให้เกิดพฤติกรรมชอบแซงคิวผู้อื่นด้วย

โรคสมาธิสั้น

ในบางเคสของโรคสมาธิสั้นอาจพบโรคอื่นที่ตามมาด้วยได้ เช่น

  • โรคการเรียนรู้บกพร่อง (Learning Disorder : LD) สามารถพบร่วมกับโรคสมาธิสั้นได้ถึง 30 % และจะแสดงอาการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เขียนตัวหนังสือไม่ถูก สับสนเวลาสะกดคำ อ่านหนังสือไม่คล่อง มีปัญหาเรื่องการคำนวณเลข
  • ปัญหาพฤติกรรมดื้อต่อต้าน ไม่ทำตามสั่ง
  • โรคกล้ามเนื้อกระตุก (Tics)
  • โรควิตกกังวล

พ่อแม่ต้องรู้! วิธีปรับพฤติกรรมลูก ช่วยให้โรคสมาธิสั้น ดีขึ้นได้

เพราะพ่อแม่เป็นบุคคลที่ใกล้ชิดลูกมากที่สุด บทบาทสำคัญของเราจึงต้องเลี้ยงดู และปรับพฤติกรรมลูกให้ดีขึ้นจากโรคสมาธิสั้น ซึ่งสามารถดูแลเบื้องต้นได้ง่าย ๆ ค่ะ

วิธีดูแลลูก โรคสมาธิสั้น
  • โรคสมาธิสั้นควรงดใช้เทคโนโลยีเลี้ยงลูก อายุต่ำกว่า 2 ขวบ เลี่ยงให้ดูทีวี คอมพิวเตอร์ และเล่นเกมจากหน้าจอต่าง ๆ หากอายุมากกว่า 2 ขวบ สามารถเล่นได้ไม่เกิน 1-2 ชั่วโมง
    คลิกอ่านเพิ่มเติม ลูกติดโทรศัพท์ทำยังไง? เข้าใจและรับมือให้ถูกวิธีกับเด็ก “Gen Alpha
  • สร้างวินัย ฝึกลูกให้รู้จักควบคุมตัวเอง ช่วยลดโรคสมาธิสั้น กิน นอน เล่น ให้เป็นเวลา บอกลูกว่าแต่ละช่วงเวลาควรทำอะไร อาจลองตั้งกฎง่าย ๆ เพื่อฝึกให้ลูกควบคุมตัวเอง เช่น ทำการบ้านให้เสร็จก่อนถึงจะอนุญาตให้ไปเล่นได้ หรือหากการบ้านมีจำนวนข้อเยอะเกินไป ให้แบ่งครึ่งทำ เพราะเด็กสมาธิสั้นอาจทำเสร็จในรวดเดียวได้ยาก

คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจถึงโรคสมาธิสั้น เพื่อที่จะได้ดูแลลูกอย่างเหมาะสม สามารถเริ่มต้นจาก กิจกรรมครอบครัวช่วยสานสัมพันธ์ ก็ได้นะคะ แถมระหว่างเล่นเรายังสอดแทรกแง่คิด และฝึกลูกให้ใช้พลังงานที่ล้นเหลือได้อย่างสร้างสรรค์อีกด้วย

SHARE

RELATED POSTS

ป้องกันลูกขาดความมั่นใจ ด้วยการปลูกฝัง Self Esteem…