รวมคำถามวัคซีนโควิดคนท้อง ต้องฉีดอะไรถึงปลอดภัย ?
‘คนท้อง’ เป็นอีกหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงสำคัญที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ซึ่งหลายครอบครัวก็กำลังเป็นกังวลเกี่ยวกับความปลอดภัยของคุณแม่และเด็กในครรภ์ รวมถึงประเด็นเรื่องวัคซีนโควิดคนท้อง ที่เต็มไปด้วยความสงสัยสารพัดว่ามันยังไงกันแน่
อย่างที่เรามักจะได้ยินบ่อยครั้งว่า “ฉีดไปก่อนแหละ กันตาย” ทำให้คุณแม่หลายคนตัดสินใจรับการฉีดวัคซีนไปบ้างแล้ว แต่ก็ยังไม่วายสงสัยเกี่ยวกับข้อมูลเรื่องวัคซีนโควิดคนท้องว่ามีของอะไรบ้างที่เหมาะสมและไม่มีผลข้างเคียง ? คนท้องเขาฉีดอะไรกัน ? แล้วจะปลอดภัยกับตัวแม่และลูกในท้องไหม ? วันนี้ Cotton Baby จะมาไขข้อสงสัยให้ฟังกันค่ะ
วัคซีนโควิดคนท้อง จำเป็นต้องฉีดหรือไม่ ?
ถึงแม้ว่าปัจจุบันยังไม่มีผลงานวิจัยที่มารับรองผลข้างเคียงเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโควิดคนท้อง แต่โดยทั่วไปเราสามารถมั่นใจได้ว่าสำหรับคุณแม่ที่มีอายุครรภ์ครบ 12 สัปดาห์ สามารถเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 ได้ตามปกติ และไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด
ยกเว้นคุณแม่ที่มีเงื่อนไขพิเศษเหล่านี้ ควรละเว้นการได้รับวัคซีนโควิดคนท้องไปก่อน เพราะอาจทำให้เกิดอาการรุนแรงมากขึ้น หรือเป็นอันตรายต่อตัวคุณแม่และลูกเอง
- หญิงตั้งครรภ์ในช่วง 12 สัปดาห์แรก
- เคยมีประวัติอาการแพ้วัคซีนโควิด จากการฉีดเข็มแรก
- คุณแม่ที่ตั้งครรภ์เมื่ออายุ 35 ปีขึ้นไป
- มีภาวะครรภ์เป็นพิษ
- มีโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน ความดันโลหิตสูง หรือโรคอ้วน
‘คนท้อง’ เป็นหนึ่งในกลุ่มเสี่ยงต่อการเจ็บป่วย หากติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดังนั้นการฉีดวัคซีนโควิดคนท้อง จึงเป็นเรื่องสำคัญและต้องละเอียดอ่อนในการตัดสินใจ
วัคซีนโควิดคนท้อง มีผลต่อลูกในครรภ์ไหม ?
ถึงแม้ว่าในปัจจุบันยังไม่มีผลวิจัยที่แน่ชัดเกี่ยวกับเรื่องของการฉีดวัคซีนโควิดคนท้อง แต่อย่างไรก็ตามคุณแม่ตั้งครรภ์ก็ควรได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19 ไปก่อน เพราะการได้รับวัคซีนจะช่วยบรรเทาอาการเจ็บปวด และลดอัตราการเสียชีวิตได้ หากได้รับเชื้อโควิด-19
ในทางตรงกันข้ามคุณแม่ที่ไม่ได้รับวัคซีนโควิดคนท้องอาจทำให้ป่วยได้ง่าย และความอ่อนแอของร่างกายนี้เอง จะส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์ได้ โดยเฉพาะคุณแม่ที่อยู่ในช่วงสัปดาห์ที่ 28-40 ถือว่าเป็นช่วงอันตรายที่สุด เพราะขนาดของมดลูกจะค่อนข้างโตและปอดจะขยายตัวไม่ได้ดีเหมือนเคย หากได้รับเชื้อโควิด-19 จะมีโอกาสเกิดภาวะปอดอักเสบรุนแรงได้ ดังนั้นหากคุณแม่มีร่างกายแข็งแรง ก็เป็นผลดีต่อลูกในครรภ์อย่างแน่นอน
นอกจากนี้ ‘การได้รับวัคซีน ไม่ได้เพิ่มความเสี่ยงในการแท้งบุตร’ ข้อมูลรับรองจากงานวิจัยที่สำรวจจากคุณแม่กว่า 2,500 คน พบว่าอัตราการแท้งบุตรจากการได้รับวัคซีนมีเพียง 13% ซึ่งเป็นตัวเลขใกล้เคียงกับอัตราการแท้งตามปกติในระดับ 11-16% ของการตั้งครรภ์อยู่แล้ว ดังนั้นหากฉีดวัคซีนโควิดคนท้อง คุณพ่อคุณแม่สามารถมั่นใจได้เลยว่าปลอดภัยค่ะ และวัคซีนที่ได้รับจะไม่ส่งผลต่อลูกในท้องแน่นอนค่ะ
หากคุณแม่ติดเชื้อโควิด เป็นอันตรายต่อลูกในท้องไหม ?
จากข้อมูลของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับเชื้อไวรัสโควิด-19 จำนวน 20,000 คน ไม่พบผลกระทบข้างเคียงต่อลูกในท้อง ไม่ว่าจะเป็นทารกพิการในครรภ์ ทารกเสียชีวิตในครรภ์ การแท้งลูก หรือการคลอดก่อนกำหนด
แต่หากคนท้องได้รับเชื้อโควิดและอยู่ในขั้นวิกฤตรุนแรง แพทย์จะแนะนำให้คลอดภายในช่วงสัปดาห์ที่ 32-35 สัปดาห์ เพื่อลดอัตราการคลอดก่อนกำหนด แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นห่วงเรื่องสุขภาพของลูกนะคะ เพราะการส่งต่อเชื้อไวรัสโควิด-19 จากแม่สู่ลูกภายในครรภ์นี้ ถูกพบเพียง 2-5% เท่านั้น นอกจากนี้สถิติยังระบุอีกว่า จำนวนกว่า 95% ของทารกที่เกิดจากคุณแม่ติดเชื้อ นั้นปลอดภัย
วัคซีนโควิดคนท้อง ตัวไหนปลอดภัย ?
ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน มีวัคซีนจากหลายบริษัทมาให้เลือกได้รับการฉีดบ้างจำนวนหนึ่ง แต่วัคซีนที่เหมาะสำหรับคนท้องมากที่สุด คือ ‘วัคซีน mRNA’ อย่างไฟเซอร์ โมเดอร์นา และ จอห์นสัน แอนด์จอห์นสัน เพราะหลังจากได้รับวัคซีนประเภทนี้ ร่างกายจะช่วยสร้างแอนติบอดีที่ช่วยปกป้องทารกจากโควิด-19 ได้
การฉีดวัคซีน mRNA ยังไม่ก่อให้เกิดความร้ายแรงต่อร่างกายคุณแม่หรืออันตรายต่อลูกในครรภ์ และการคลอดก่อนกำหนดแต่อย่างใด ยกเว้นผลข้างเคียงเล็กน้อยที่ไม่ได้แตกต่างจากคนทั่วไปเลย หมายความว่าคุณแม่ตั้งครรภ์จะไม่มีอาการรุนแรง เว้นแต่จะมีไข้หลังฉัดวัคซีน ซึ่งเป็นเรื่องปกติ และควรทายาพาราเซตามอลสำหรับการฟื้นตัว
หากไม่สามารถรับวัคซีน mRNA ได้ ควรเลือกชนิดไหน ?
สำหรับวัคซีนโควิดคนท้องในตอนนี้ องค์กรอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้มีการฉีดวัคซีน Sinovac เพราะเกิดประโยชน์มากกว่าความเสี่ยงในกลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ ดังนั้นหากไม่ได้รับวัคซีน mRNA คุณแม่ควรเลือกวัคซีน Sinovac เป็นตัวเลือกแรก เนื่องจากเป็นวัคซีนที่ไม่มีไวรัสที่มีชีวิต (วัคซีนเชื้อตาย) ซึ่งจะไม่เกิดความเสี่ยงในการส่งต่อเชื้อจากแม่ลงสู่เด็ก ดังนั้นวัคซีนประเภทเชื้อตายจะมีความปลอดภัยต่อคุณแม่และทารกในครรภ์มากกว่า
สำหรับในตอนนี้ยังไม่มีรายงานที่แน่ชัดว่าประสิทธิภาพของวัคซีน Sinovac แต่อย่างไรก็ตามวัคซีนประเภทนี้คือ ‘วัคซีนเชื้อตาย’ ที่มีการใส่สารประเภทหนึ่งที่ปรากฏอยู่ในวัคซีนตัวอื่น ๆ และไม่ได้เกิดอันตรายต่อร่างกาย เช่น วัคซีนป้องกันไวรัสตักอักเสบบี วัคซีนกันบาดทะยัก เป็นต้น และในอนาคตคาดว่าจะมีการศึกษาที่จะมาเติมความมั่นใจในการฉีดวัคซีนประเภทนี้
ป้องกันตัวอย่างไรไม่ให้ติดโควิด ?
สวมหน้ากากอนามัย
ล้างมือเป็นประจำ หรือ พกแอลกอฮอล์เจลติดตัว
เว้นระยะห่างจากผู้อื่น
หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณใบหน้า
หลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน หรือที่แออัด
ฉีดวัคซีน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต
หากคุณแม่จำเป็นต้องได้รับวัคซีนป้องกันชนิดอื่น ๆ ร่วมกับวัคซีนโควิด-19 เช่น วัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ หรือวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ ไอกรน และบาดทะยัก ควรเลือกวัคซีนเหล่านี้ก่อน เพราะเด็กทารกแรกเกิดยังไม่สามารถสร้างภูมิคุ้มกันในตัวเองได้ หากได้รับเชื้อโรคเหล่านี้ อาจอันตรายต่อชีวิตได้มากกว่าเชื้อไวรัสโควิด-19
แต่หากจำเป็นจริง ๆ ที่จะต้องได้รับทั้งวัคซีนป้องกันโควิด ควรเว้นระยะห่างกันระหว่างวัคซีนอย่างน้อย 2 สัปดาห์ ทั้งนี้ควรขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ดูแลการตั้งครรภ์ด้วย
นอกจากนี้คุณแม่ที่มีลูกอ่อน และกำลังอยู่ในช่วงระหว่างให้น้ำนม สามารถรับวัคซีนได้ปกติ ไม่จำเป็นต้องงดน้ำนมแม่หลังฉีดวัคซีนนะคะ เพราะยังไม่มีงานวิจัยว่าเชื้อโควิดจะเดินทางผ่านน้ำนม แต่หากในอนาคตมีการเปลี่ยนแปลง หรือข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิดคนท้องเพิ่มเติม Cotton Baby จะนำมาเสนอเป็นที่แรกแน่นอน