5 ข้อที่พ่อแม่ควรรู้ก่อนเลือกยาแก้ไอเด็กให้ลูกทาน
เมื่อลูกไม่สบายมีอาการไอที่เป็นปฏิกิริยาของร่างกายตอบสนองต่อสิ่งแปลกปลอมทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดการระคายเคือง ยาแก้ไอเด็ก จึงเป็นตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการไอของลูกน้อยให้ดีขึ้น พ่อแม่ควรรู้วิธีเลือกยาแก้ไอเด็กที่เหมาะสมและปลอดภัยกับลูก เราไปดูพร้อมกันเลยว่าควรเลือกยาแก้ไอเด็กแบบไหนให้ลูกทาน
วิธีเลือกยาแก้ไอเด็กให้ปลอดภัยต่อลูกน้อย
- เลือกยาแก้ไอเด็กให้ตรงตามสาเหตุของอาการ
อาการไอ แบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ ไอมีเสมหะ และ ไอไม่มีเสมหะ ให้พ่อแม่สังเกตอาการของลูกว่าเป็นแบบไหนเพื่อที่จะได้เลือกชนิดของยาแก้ไอเด็กให้ตรงกับสาเหตุอาการไอได้ถูกต้อง และชนิดของยาแก้ไอก็แบ่งออกได้ 3 กลุ่ม ดังนี้
- ยาแก้ไอ แบบไม่มีเสมหะหรือไอแห้ง เหมาะกับใช้ในกรณีอาการไอไม่มีเสมหะ สำหรับเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 4 ปี ไม่ควรทานยาแก้ไอเด็กชนิดนี้ เนื่องจากเมื่อใช้ติดต่อกันนานมีโอกาสทำให้เสพติด และหากใช้เกินขนาด ฤทธิ์ยาอาจไปกดการหายใจส่งผลอันตรายถึงชีวิตได้
- ยาแก้ไอ ละลายเสมหะ ช่วยละลายความข้นของเสมหะให้หนืดน้อยลง ทำให้สามารถไอเสมหะออกมาได้ง่าย ยาชนิดนี้อาจให้อาการข้างเคียงได้แต่ถือว่าน้อยเมื่อเทียบกับชนิดขับเสมหะ
ยาละลายเสมหะเป็นยาแก้ไอเด็กที่มีผลข้างเคียงน้อยและค่อนข้างปลอดภัย เช่น คาร์โบซีสเทอีน (Carbocisteine) ยาละลายเสมหะ มีประสิทธิภาพในการละลายเสมหะได้ดี ผลข้างเคียงน้อย ใช้ได้ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ - ยาแก้ไอ ขับเสมหะ ยาชนิดนี้เป็นยาแก้ไอที่นิยมใช้กัน ช่วยกระตุ้นสร้างสารหลั่งที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบทำให้เสมหะหนืดน้อยลง จนทำให้ไอเสมหะออกมาได้ง่ายกว่าเดิม แต่ยาชนิดนี้อาจให้อาการข้างเคียงได้ เช่น ไม่สบายท้อง คลื่นไส้ อาเจียน
- เลือกยาแก้ไอเด็กที่ปราศจากน้ำตาลและแอลกอฮอล์
- ยาแก้ไอเด็กหลายยี่ห้อจะไม่มีแอลกอฮอล์อยู่แล้ว แต่สำหรับยาบางตัวที่ไม่สามารถละลายในน้ำได้จะต้องใช้แอลกอฮอล์ในปริมาณที่เหมาะสมช่วยเพื่อทำให้เป็นยาน้ำแก้ไอ อย่างไรก็ตาม พ่อแม่ควรสังเกตฉลากก่อนซื้อยาทุกครั้งนะคะ
- ควรเลือกยาแก้ไอเด็กที่ไม่มีส่วนประกอบของน้ำตาล ช่วยป้องกันฟันผุ และไม่ทำให้ลูกรับปริมาณน้ำตาลในแต่ละวันมากเกินไป
ก่อนเลือกยาแก้ไอเด็ก ระวังตัวยาอันตราย
ยาแก้ไอบางชนิด อาจมีตัวยาอันตรายที่ไม่ควรใช้กับเด็ก เช่น Acetylcysteine ต้องระวังกับผู้ป่วยโรคหอบหืด หรือยาที่มีฤทธิ์กดอาการไอ เช่น Dextromethorphan อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียงและเป็นอันตรายต่อเด็กได้
เลือกยาแก้ไอเด็กรสผลไม้
ยาแก้ไอเด็กแบบน้ำ รสผลไม้ต่าง ๆ จะช่วยทำให้เด็กทานยาได้ง่ายขึ้น เช่น รสเบอร์รี่, รสองุ่น หรือรสผลไม้รวม
ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเลือกยาแก้ไอเด็ก
ก่อนใช้ยาแก้ไอเด็ก ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ เพื่อความเหมาะสมและปลอดภัยมากที่สุด ซึ่งโดยปกติแล้วการทานยาทุกชนิดสำหรับเด็กจะต้องทานตามน้ำหนักตัว คำนวณปริมาณยาให้เหมาะสมกับน้ำหนักตัวของลูก ฉะนั้นพ่อแม่จึงควรทราบน้ำหนักตัวของลูกให้ชัดเจนและแจ้งก่อนซื้อยาทุกครั้งเพื่อความปลอดภัยค่ะ
*ข้อสำคัญที่ควรระวังสำหรับยาแก้ไอเด็ก คือ เด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ไม่ควรใช้ยาแก้ไอ เนื่องจากองค์การอาหารและยาของประเทศสหรัฐอเมริกา (FDA) ได้ระบุอย่างชัดเจนว่า ไม่แนะนำให้ใช้ยาเพื่อบรรเทาอาการไอในเด็กอายุต่ำกว่า 2 ปี ฉะนั้น หากลูกยังเล็กอยู่ ควรพบแพทย์เพื่อตรวจหาวิธีรักษาอาการไอโดยวิธีอื่น ๆ ตามเหมาะสม
นอกจากการทานยาแก้ไอเด็กแล้ว อย่าลืมให้คุณลูกดื่มน้ำอุ่นตามเยอะ ๆ ควบคู่กันไปด้วยนะคะ รวมถึงหลีกเลี่ยงอาหารประเภททอดและของมัน ๆ เพียงเท่านี้ก็จะช่วยให้ลูกหายป่วยได้ไวขึ้นแล้วค่ะ ทั้งนี้ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากสร้างเกราะป้องกันให้ลูกไม่ป่วยง่าย คลิก เช็กตารางวัคซีนพื้นฐานที่ลูกต้องฉีด