Search
Close this search box.
วิธีการดูแลผู้สูงอายุ

ลูกหลานต้องรู้! 5 วิธีการดูแลผู้สูงอายุ ให้ครอบครัวแฮปปี้

การดูแลผู้สูงอายุในครอบครัวที่อาศัยอยู่ร่วมกันเป็นครอบครัวใหญ่มีความสำคัญมากนะคะ เพราะบางทีเราอาจโฟกัสดูแลใส่ใจแต่ลูก ๆ จนเผลอลืมพวกท่านไปบ้าง แต่ในปัจจุบันที่ประเทศไทยของเราเข้าสู่สังคมสูงวัย หรือ Aging Society อย่างเต็มตัวแล้ว ทำให้คนรุ่นลูก รุ่นหลานอย่างเราต้องหันมาดูแลใส่ใจผู้สูงอายุกันมากขึ้นแล้วล่ะค่ะ

หลายคนอาจกำลังกังวลใจในเรื่องการดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ไม่รู้ว่าควรต้องทำอย่างไรดี รวมถึงอาจมีบางครั้งที่เราใช้อารมณ์นำทาง เผลอแสดงท่าที หรือคำพูดเชิงลบออกไปแล้วมานึกเสียใจทีหลัง เอาล่ะค่ะ…ปัญหาเหล่านี้จะคลี่คลายได้ด้วยวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ Cotton Baby จะมาแชร์ให้ทุกคนกัน

จำนวนผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นทั่วโลก

ก่อนที่เราจะไปถึงวิธีการดูแลผู้สูงอายุ เรามาดูกันว่าทำไมสังคมสูงวัยจึงเป็นเรื่องที่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่ จากข้อมูลของ WHO ระบุว่า ผู้คนทั่วโลกมีอายุยืนยาวมากขึ้น โดยเฉพาะจำนวนผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ในปี 2050 มีจำนวนเพิ่มมากขึ้นทั่วโลก (หรืออีก 28 ปีข้างหน้า) ซึ่งนั่นก็รวมประเทศไทยอยู่ด้วยนั่นเองค่ะ ด้วยวิวัฒนาการของมนุษย์ และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ก้าวหน้าไปมาก ส่งผลให้คนเรามีอายุที่ยืนยาวขึ้น แต่ไม่ได้หมายความว่าการมีอายุยืนยาวจะเท่ากับการมีสุขภาพดีเสมอไปนะคะ เพราะอย่างที่เรารู้กันว่าผู้สูงอายุมักจะเป็นกลุ่มแรกที่มีความเสี่ยงต่อโรคภัยต่าง ๆ ได้มากกว่ากลุ่มอื่น ฉะนั้น หน้าที่การดูแลผู้สูงอายุของคนรุ่นลูกรุ่นหลานจึงเป็นเรื่องที่เราต้องใส่ใจเป็นพิเศษ แล้วเราจะต้องทำอย่างไรให้พวกเขามี Well-Being ที่ดีล่ะ ? มาดูวิธีเหล่านี้ไปพร้อมกันเลยค่ะ

5 วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่ลูกหลานต้องรู้

การดูแลผู้สูงอายุ ทำความเข้าใจว่าอะไร ๆ อาจไม่เหมือนเดิม

การดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 1 ทำความเข้าใจว่าอะไร ๆ อาจไม่เหมือนเดิม

ร่างกายคนเราเมื่อเข้าสู่วัยสูงอายุ ประสิทธิภาพการทำงานต่าง ๆ ก็มีลดลงเป็นเรื่องธรรมดา เช่น ความจำที่เคยจำได้ดี ไม่ค่อยหลงลืมอะไรง่าย ๆ มาวันนี้พวกท่านอาจมีความขี้หลงขี้ลืม ทำให้เราต้องพูดเรื่องเดิมซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นความหงุดหงิด หรือรำคาญบ้าง อยากให้เข้าใจนะคะว่าเป็นเรื่องปกติที่สามารถเกิดขึ้นได้

โดยลูกหลายอย่างเราก็ต้องรู้วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่เหมาะสม เพราะโรคอัลไซเมอร์ มักมาพร้อมกับอายุที่เพิ่มมากขึ้น  ซึ่งปกติแล้วสมองของผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไปจะมีอาการเสื่อมถอยลง ทำให้เราต้องคอยกระตุ้นถามอยู่เสมอ เพื่อให้จดจำเรื่องราวต่าง ๆ ได้ และใช้ชีวิตได้ตามปกติ รวมถึงหากิจกรรมหรืองานอดิเรกที่ชอบให้ทำ เช่น ปลูกต้นไม้ ทำอาหาร อ่านหนังสือ เป็นต้น  

การดูแลผู้สูงอายุ คำพูดต้องห้ามที่ควรรู้

การดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 2 คำพูดต้องห้ามที่ควรรู้

ครอบครัวที่ต้องทำทั้งงาน เลี้ยงลูก พร้อมกับการดูแลผู้สูงอายุ อาจมีบ้างที่จะหลุดใช้อารมณ์ผ่านคำพูด เพื่อให้สถานการณ์ตรงหน้านั้นคลี่คลาย แต่มันกลับสร้างบาดแผลและความรู้สึกไม่ดีกับผู้สูงอายุในครอบครัวได้ ทางที่ดีควรใจเย็น ๆ ตั้งสติ หากทะเลาะกันอย่าเพิ่งแสดงท่าทีเชิงลบออกมา ลองถอยออกมาก่อน รอให้ใจเย็นแล้วมาคุยกันใหม่อีกที คุยกันตอนพร้อมจะดีกว่านะคะ

การดูแลผู้สูงอายุ เรื่องอาหารการกินต้องใส่ใจมากขึ้น

การดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 3 เรื่องอาหารการกินต้องใส่ใจมากขึ้น

การกินอาหารที่ถูกโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุจะแตกต่างออกไปจากเดิม เพราะวัยนี้ร่างกายจะต้องการสารอาหารที่ครบถ้วนและเพียงพอ เพื่อนำไปสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง อีกทั้งอาหารในแบบ หวาน มัน เค็ม ที่เคยเป็นที่โปรดปราน อาจเป็นเมนูต้องห้ามไปโดยปริยาย นอกจากนี้ปัญหาเรื่องปากและฟันของผู้สูงอายุอาจส่งผลให้ทานอาหารได้น้อยลง หรือเคี้ยวละเอียดได้ไม่เท่าเดิม ทำให้อาหารที่แนะนำสำหรับวัยนี้คือ อาหารอ่อนนุ่ม เคี้ยวง่าย ชิ้นเล็ก กระบวนการปรุงผ่านการตุ๋น นึ่ง หรือต้มให้นิ่ม

รวมถึงให้ทานผักผลไม้ เพื่อให้ร่างกายได้รับวิตามินและกากใย ส่วนโปรตีนเลือกเนื้อสัตว์ที่ย่อยง่าย เช่น เนื้อปลา และที่สำคัญที่สุดคือ ดื่มน้ำเปล่าอย่างน้อย 1-1.5 ลิตรต่อวัน งดน้ำหวาน และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การดูแลผู้สูงอายุ มอบความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว

การดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 4 มอบความรัก ความอบอุ่นในครอบครัว

วิธีการดูแลผู้สูงอายุที่พวกท่านต้องการสัมผัสมากที่สุดคือ กำลังใจ และความรัก ความใส่ใจ ซึ่งสิ่งที่ควรระวังมากที่สุดคือ การทิ้งให้อยู่เพียงลำพัง โดดเดี่ยว เพราะความหวังดีของเรามักจะคิดแทนท่านว่าให้อยู่เฉย ๆ ไม่ต้องทำอะไรจะได้สบาย ๆ แต่ความจริงแล้วผู้สูงอายุก็อยากจะทำอะไร ๆ ให้ลูกหลานบ้าง เช่น การทำความสะอาดบ้าน ดูแลความเรียบร้อยต่าง ๆ กิจกรรมเล็กน้อยพวกนี้จะช่วยไม่ให้พวกท่านเหงา และรู้สึกว่าตนเองมีประโยชน์กับลูกหลานอีกด้วย เราเพียงแค่ดูความปลอดภัย ไม่ให้โดหมหนักเกินไปก็พอแล้วค่ะ

การดูแลผู้สูงอายุ ดูแลเรื่องการพบแพทย์ และทานยา

การดูแลผู้สูงอายุ ข้อ 5 ดูแลเรื่องการพบแพทย์ และทานยา

เพราะผู้สูงอายุมักมีโรคประจำตัว ลูกหลานจึงไม่ควรละเลยดูแลเรื่องการทานยา ควรจัดยาให้ทานง่าย เช่น จัดเป็นชุด รู้ว่าอันนั้นทานก่อนอาหาร หลังอาหาร ก่อนนอน และทานให้ตรงเวลา อย่าให้ขาด พร้อมจดจำยาทุกชนิดที่ท่านทานเพื่อบอกแพทย์ที่ไปพบ รวมถึงไปพบแพทย์ตามนัดหมายอย่างสม่ำเสมอ และที่สำคัญ หากผู้สูงอายุป่วยแล้วอาการไม่ดีขึ้นภายใน 1-2 วัน ให้พาพบแพทย์ ไม่ควรซื้อยาทานเอง

หากครอบครัวใดไม่ได้อาศัยอยู่ร่วมกับผู้สูงอายุก็อย่าลืมที่จะแวะเวียนไปเยี่ยมพวกท่านบ้างนะคะ พาหลาน ๆ เจ้าตัวเล็กไปเล่นกันท่านบ้าง เป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลผู้สูงอายุที่กระชุ่มกระชวยหัวใจไม่น้อยเลยล่ะค่ะ

SHARE

RELATED POSTS

7 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมืออารมณ์คนท้องแปรปรวน ทำตามนี้ได้ผลดีแน่นอน…
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย…
พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้…