Search
Close this search box.
ตาแฉะ

พ่อแม่ระวัง! ลูกตาแฉะ มีขี้ตามาก อาจเสี่ยงภาวะท่อน้ำตาอุดตัน

ปัญหาลูกน้อยตาแฉะ มีขี้ตามาก น้ำตาไหลตลอดเวลา ในทารกแรกคลอดหรือในช่วงอายุ 1 – 3 เดือน ทั้ง ๆ ที่ไม่ได้ร้องไห้ อาจทำให้พ่อแม่กังวลใจ ซึ่งอาการตาแฉะเช่นนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึง ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน ได้ เพราะฉะนั้นเรามาดูสาเหตุ วิธีดูแล พร้อมอาการที่ต้องระวังกันค่ะ

อาการตาแฉะของลูกน้อย

อาการตาแฉะในเด็กแรกเกิด มีน้ำตาไหลมาก เหมือนร้องไห้ตลอดเวลา ยังไม่มีขี้ตาสีเขียวเยอะ กรณีแบบนี้สามารถพบได้เป็นเรื่องปกติในทารกอายุไม่เกิน 6 เดือน สาเหตุมาจากท่อน้ำตาที่แคบ ยังเปิดได้ไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำตา หรือเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียในระหว่างการคลอด อาจแสดงอาการเพียงข้างเดียวหรือทั้งสองข้างก็ได้ค่ะ

ตาแฉะ

วิธีดูแลอาการตาแฉะของลูกน้อย

  1. ทำความสะอาด บริเวณรอบดวงตาของลูกด้วยสำลีชุบน้ำต้มสุก เริ่มต้นเช็ดจากหัวตาไปหางตาเบา ๆ ทำซ้ำและเปลี่ยนสำลีใหม่จนกว่าขี้ตาจะหมดค่ะ
  2. ใช้ยาหยอด ยาหยอดตาฆ่าเชื้อ หยอดวันละหยด หากวันไหนที่ลูกน้อยไม่มีขี้ตา มีเพียงน้ำตาใส ๆ ไม่ต้องหยอดก็ได้ค่ะ เป็นการลดแบคทีเรีย เชื้อโรคบริเวณใบหน้า และรอบดวงตา
    ซึ่งน้ำตาที่ค้างอยู่ในท่อ แบคทีเรียก็จะเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ จนกลายเป็นหนอง คุณแม่จะต้องใช้วิธีนวดหัวตาให้น้ำออกมานั่นเองค่ะ
  1. นวดหัวตา เพื่อให้น้ำตาที่จะเริ่มมีแบคทีเรียโตนั้นออกมา และยังช่วยให้ท่อน้ำตาเปิดจากแรงดันทางจมูก โดยใช้นิ้วกดที่บริเวณหัวตาแล้วก็รูดมาที่จมูก ทำข้างละ 20 ครั้ง วันละ 4 รอบ เช้า กลางวัน เย็น และก่อนนอน (นวดก่อนหยอดยา) แนะนำให้นวดตอนที่ลูกหลับ หรือตอนกินนม จะทำให้นวดง่ายขึ้น หากทำอย่างสม่ำเสมอ ภายในอายุ 1 ปี อาการตาแฉะของลูกก็จะหายไปค่ะ
    แต่สิ่งสำคัญที่คุณพ่อคุณแม่ต้องสังเกตคือ หากเห็นว่าอาการตาแฉะของลูกน้อยเริ่มมีขี้ตาเป็นมูกปนหนอง นี่อาจเป็นสัญญาณว่าเสี่ยงต่อภาวะท่อน้ำตาอุดตัน

ตาแฉะ มีขี้ตาปนหนอง เสี่ยงภาวะท่อน้ำตาอุดตัน

ตาแฉะ

ภาวะท่อน้ำตาอุดตัน เกิดจากการที่มีแผ่นเนื้อเยื่อมาปิดบริเวณรูระบายของท่อน้ำตาในจุดที่เชื่อมต่อกับจมูก แต่โดยปกติแล้วเนื้อเยื่อนี้จะสลายไปเองเมื่อทารกอายุ 4 – 6 สัปดาห์ หากไม่สลายจะทำให้มีอาการน้ำตาคลอเบ้าตลอดเวลา

อาการของภาวะท่อน้ำตาอุดตัน

  • ตาแฉะ มีน้ำตาไหลคลอเบ้าตลอดเวลา
  • มีขี้ตาสีเหลืองหรือเขียว
  • หากติดเชื้อ จะมีอาการเยื่อบุตาแดงอักเสบร่วมด้วย
  • ถ้ามีอาการมากอาจเป็นหนองที่หัวตาได้ด้วย

วิธีการรักษาท่อน้ำตาอุดตันในเด็ก

สามารถใช้วิธีเดียวกับการดูแลอาการตาแฉะได้เลยค่ะ โดยนวดหัวตา ร่วมกับการใช้ยาหยอด (*ควรปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยานะคะ) และอย่าลืมว่าเรื่องความสะอาดนั้นสำคัญสำหรับเด็ก ๆ เป็นอย่างมาก ต้องล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสทุกครั้ง ซึ่งอย่างที่บอกไปข้างต้นว่า หากทำตามวิธีนี้แล้วอาการจะดีขึ้นโดยเฉพาะกับเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี แต่ถ้านวดแล้วไม่ได้ผล โดยเฉพาะกับเด็กที่อายุมากกว่า 1 ปี 6 เดือน อาจจะต้องปรึกษาแพทย์เพื่อเปิดท่อน้ำตาด้วยวิธีที่เหมาะสมต่อไปค่ะ

อย่างไรก็ตามอาการตาแฉะนี้ อาจเกิดจากสาเหตุอื่นได้อีก อาทิ เยื่อบุตาขาวอักเสบ มีสิ่งแปลกปลอมค้างในตา กระจกตาอักเสบ รวมถึงต้อหินในวัยเด็ก ฉะนั้น หากคุณพ่อคุณแม่สังเกตเห็นอาการที่ผิดปกติ ควรปรึกษาแพทย์ หรือจักษุแพทย์เฉพาะทางในเด็ก เพื่อรับการตรวจและรักษาอย่างถูกต้องจะดีกว่านะคะ

นอกจากนี้เรายังมีวิธีดูแล ทำความสะอาดร่างกายแต่ละส่วนของลูกน้อยอย่างถูกต้องมาฝากกันด้วยค่ะ สามารถคลิกอ่านเพิ่มเติมได้เลย

5 วิธีดูแล สะดือจุ่นภาวะปกติของลูกน้อยที่พ่อแม่มักกังวล

คู่มือดูแลความสะอาดหูลูกน้อยแบบมืออาชีพ สะอาดดี ไม่มีเจ็บเลย

SHARE

RELATED POSTS

7 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมืออารมณ์คนท้องแปรปรวน ทำตามนี้ได้ผลดีแน่นอน…
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย…
พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้…