ลูกโดนไฟดูด ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม | Advertorial
ลูกโดนไฟดูด ภัยใกล้ตัวที่พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม | Advertorial เครื่องใช้ไฟฟ้าภายในบ้านอาจเป็นตัวการภัยร้ายแรงแก่เด็กวัยกำลังซน เพราะพื้นฐานพฤติกรรมของเด็กน้อยนั้น พอเห็นอะไรก็อยากจะเอามือไปจับไปสัมผัสอยู่เสมอ ไม่เว้นแม้แต่เครื่องใช้ไฟฟ้า ดังนั้นถ้าหากคุณพ่อคุณแม่เผลอละสายตาแม้แต่นิดเดียวก็อาจเกิดอันตรายจากไฟดูดได้นะ ผลสำรวจของคณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล พบว่าในประชากรเด็กเสียชีวิตจากไฟดูดสูงเป็นอันดับ 3 รองจากอุบัติเหตุทางจราจรและการจมน้ำ จึงถือว่าไฟดูดเป็นภัยที่ใกล้ตัวมาก ๆ ดังนั้นเพื่อปกป้องลูกน้อยจากอุบัติเหตุทางไฟฟ้า Cotton Baby จึงได้นำเกร็ดความรู้ วิธีป้องกัน และข้อควรปฏิบัติหากเกิดเหตุการณ์ไฟดูดมาฝากกันค่ะ ไฟดูดคืออะไร ไฟดูด คือ การมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านร่างกายลงสู่พื้นดิน ความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับปริมาณไฟฟ้า และระยะเวลาที่โดนไฟดูด เมื่อร่างกายสัมผัสกับกระแสไฟฟ้าที่รั่วออกมา จะทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็ง มีแผลไหม้ หัวใจเต้นผิดจังหวะ และเต้นอ่อนลงจนถึงขั้นเสียชีวิต ซึ่งสาเหตุของไฟดูดก็เกิดได้จากหลายกรณี เช่น สัมผัสกระแสไฟที่รั่วไหลจากเครื่องใช้ไฟฟ้า สัมผัสสายไฟหรือโลหะที่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่าน เป็นต้น พ่อแม่ต้องระวัง! พฤติกรรมไหนของลูกที่เสี่ยงโดนไฟดูด คุณพ่อคุณแม่ต้องพึงระวังและคอยสังเกตพฤติกรรมเสี่ยงของลูก โดยเฉพาะเด็กเล็กวัยกำลังซนยิ่งต้องระวังเป็นพิเศษ เพราะเขาพร้อมจะยื่นมือน้อย ๆ ไปสัมผัสกับสิ่งรอบตัวตลอดเวลา หากปล่อยให้คลาดสายตาอาจเกิดอันตรายได้ โดยตัวอย่างพฤติกรรมของลูกที่เสี่ยงโดนไฟดูด มีดังนี้ ใช้นิ้วมือ แหย่เข้าไปในช่องปลั๊กไฟ หรือวัตถุที่เป็นโลหะ เช่น ส้อม กิ๊บหนีบผม ใช้มือจับบริเวณสายไฟหรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ชำรุด […]
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย ทาง Cotton Baby ได้รวบรวมข้อมูลและแนะนำวิธีห่อตัวทารกแบบพื้นฐานที่สามารถทำตามได้มาไว้ให้แล้ว แต่ก่อนที่จะไปรู้ถึงวิธีนั้น เคยสงสัยไหมคะว่าทำไมต้องห่อตัวให้เด็กด้วยล่ะ? เจ้าตัวน้อยจะไม่อึดอัดเหรอ? มาเริ่ม ไขข้อสงสัยเหล่านี้ไปพร้อมกันเลย ทำไมต้องเรียนรู้วิธีห่อตัวทารก? ช่วงเวลา 9 เดือนของทารกในครรภ์เป็นช่วงที่ได้รับการปกป้องดูแลเป็นอย่างดี เนื่องจากในครรภ์จะมีถุงน้ำคร่ำทำหน้าที่ปกป้องทารกจากการได้รับความกระทบกระเทือน แต่เมื่อถึงเวลาที่ทารกลืมตาดูโลกก็จะต้องเผชิญกับสภาพแวดล้อมที่แตกต่างอย่างสิ้นเชิง อาจส่งผลให้ทารกเกิดความหวาดระแวง และไม่ชินกับสิ่งรอบตัว ดังนั้นการเรียนรู้วิธีห่อตัวทารกที่ถูกต้องจะทำให้ทารกไม่อึดอัดหรือไม่สบายตัว แต่กลับช่วยทำให้ทารกน้อยรู้สึกคุ้นเคยกับการถูกสัมผัส รู้สึกปลอดภัย และลดการตกใจตื่นที่เกิดจากการกระตุกของแขนและขาซึ่งทำให้สามารถนอนหลับได้นานยิ่งขึ้น ควรเริ่มวิธีห่อตัวทารกตอนไหน? แนะนำว่าควรเริ่มต้นห่อตัวทารกตั้งแต่แรกเกิดเพื่อให้ทารกไม่ตื่นตกใจกับสภาพแวดล้อมใหม่ ๆ แต่ไม่ควรห่อตัวทารกจนเกิน 3 เดือน โดยอาจสังเกตได้จากท่าทางของลูกน้อยว่าสามารถเริ่มขยับพลิกตัวได้เอง เริ่มมีการขยับของแขนและขามากขึ้น หรือแสดงท่าทางที่อึดอัดจากการห่อตัว ไม่ยอมให้ห่อตัวได้ง่ายเหมือนในช่วงแรก ๆ ก็สามารถหยุดการห่อตัวได้เลยค่ะ ผ้าที่ใช้มีผลกับวิธีห่อตัวทารกไหม? ต้องบอกเลยว่าผ้าที่ใช้ไม่ได้มีผลกับความยากง่ายในการห่อตัวทารก เพราะวิธีห่อตัวทารกนั้นมีขั้นตอนที่สามารถทำตามได้ง่าย แต่ลักษณะของผ้าจะมีผลต่อผิวสัมผัสของลูกน้อย จึงควรเลือกใช้ผ้าที่มีความอ่อนนุ่ม เบาสบาย สามารถระบายอากาศได้ดี อ่อนโยนต่อผิวเพื่อลดอาการระคายเคือง โดยประเภทของผ้าที่แนะนำให้ใช้สำหรับห่อตัวทารก มีดังนี้ ผ้าสำลี – เนื้อสัมผัสของผ้าสำลีจะมีความอ่อนโยนต่อผิว สามารถให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายได้ดี เหมาะกับการห่อตัวทารกแรกเกิดเนื่องจากไม่ระคายเคืองผิว ผ้าฝ้าย – ด้วยคุณสมบัติพิเศษของผ้าฝ้ายสามารถกักเก็บอุณหภูมิได้ดี […]