Search
Close this search box.
เลือดล้างหน้าเด็ก

ไขทุกข้อสงสัย เลือดล้างหน้าเด็กคืออะไร

อันตรายหรือไม่?

เลือดล้างหน้าเด็ก (Implantation bleeding) อาการที่อาจเกิดขึ้นกับคุณแม่มือใหม่ และเป็นที่สงสัยกันมากว่า ความจริงแล้วเลือดล้างหน้าเด็กคืออะไร แตกต่างกับประจำเดือนอย่างไร หากเกิดอาการเลือดล้างหน้าเด็กแล้วต้องทำอย่างไร จะเป็นอันตรายหรือเปล่า? วันนี้ทาง Cotton Baby จะมาไขข้อข้องใจทั้งหมดนี้ให้คุณแม่เองค่ะ

เลือดล้างหน้าเด็ก คืออะไร ?

เลือดล้างหน้าเด็ก เป็นสัญญาณของการตั้งครรภ์อย่างหนึ่ง จะเกิดขึ้นเฉพาะกับคุณแม่บางคนเท่านั้น ไม่ใช่คุณแม่ทุกคนที่จะเจอกับอาการนี้ ซึ่งเลือดล้างหน้าเด็กจะเป็นเลือดจาง ๆ ที่ออกมาจากทางช่องคลอด มักจะมาก่อน 1 สัปดาห์ หรือใกล้เคียงกับประจำเดือนรอบถัดไป อาการเลือดล้างหน้าเด็กนี้จะอยู่ประมาณ 1 – 2 วัน เท่านั้น แล้วจะหยุดไปเอง และนี่คือสัญญาณเตือนว่าตอนนี้คุณแม่กำลังจะมีอาการเลือดล้างหน้าเด็ก

  • รู้สึกเหนื่อย ปวดหัวเล็กน้อย
  • มีอาการอาเจียน จากการแพ้ท้อง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลงบ่อย
  • ปัสสาวะมากกว่าปกติ
  • เต้านม หรือ หัวนมบวมขึ้น

หากคุณแม่มีอาการที่เกิดจากภาวะภายในร่างกายเหล่านี้ แสดงว่าอาการเลือดล้างหน้าเด็ก กำลังมาหาอย่างแน่นอน แต่อย่าพึ่งตระหนกไปนะคะ เพราะอาการเลือดล้างหน้าเด็กไม่ได้เป็นอันตรายใด ๆ ต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ทั้งสิ้น ใช้เวลาเพียงไม่กี่วันก็หายไปแล้ว ดังนั้นเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมสำหรับการตั้งรับ เรามาสังเกตกันดีกว่าว่าเลือดหน้าหน้าเด็กมีลักษณะเป็นอย่างไร แตกต่างจากประจำเดือนหรือไม่

ลักษณะของ เลือดล้างหน้าเด็ก

เลือดล้างหน้าเด็ก กับ ประจำเดือน แตกต่างกันอย่างไร ?

ทั้ง ‘เลือดล้างหน้าเด็ก’ และ ‘ประจำเดือน’ อาการทั้งสองนี้ แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงนะคะ ทั้งในเรื่องของลักษณะภายนอก ปริมาณที่ไหลออกมา ระยะเวลาของอาการ รวมถึงสาเหตุที่เกิดด้วย เพราะ

  • เลือดล้างหน้าเด็ก เกิดจาก ตัวอ่อนเข้าฝังตัวกับเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งการเข้าฝังตัวนี้อาจทำให้หลอดเลือดฝอยในโพรงมดลูกแตก จนเกิดเป็นเลือดสีจาง ๆ ออกมาทางช่องคลอด โดยมีลักษณะ ดังนี้

    – มีเลือดออกสีจาง ๆ เป็นสีชมพูหรือสีน้ำตาล อ่อนกว่าประจำเดือน
    – ออกมาในปริมาณกระปริบกระปรอย น้อยกว่าประจำเดือน
    – อาจมีอาการปวดท้องร่วมด้วย
    – เลือดล้างหน้าเด็กจะมีอาการเพียง 1 – 2 วัน

  • เลือดประจำเดือน เกิดจาก การหลุดลอกของเยื่อบุผนังมดลูก หลังจากที่ไข่ตกแล้ว 14 วัน ไม่มีการปฏิสนธิ จึงหลุดออกมาเป็นประจำเดือน โดยมีลักษณะ ดังนี้

    – เลือดมีสีแดงคล้ำเล็กน้อย หรือสีแดงสด
    – มีปริมาณมาก สังเกตได้จากผ้าอนามัยเปียกชุ่ม

    – ระยะเวลาที่เป็นประจำเดือน ประมาณ 5 – 7 วัน
    – อาจมีอาการปวดท้องประจำเดือน ทั้งแบบปวดบีบ ปวดเกร็ง

เลือดล้างหน้าเด็ก กับ ประจำเดือน ต่างกันยังไง

สรุปแล้วเลือดล้างหน้าเด็กจะแตกต่างกับประจำเดือน มีลักษณะสีที่อ่อนกว่า ปริมาณน้อยกว่า ระยะเวลาของอาการก็แสดงน้อยกว่า แต่ถ้ายังไม่แน่ใจอยู่ว่า นี่คือเลือดล้างหน้าเด็ก หรือเปล่า เพราะระยะเวลาที่เกิดอาการเลือดล้างหน้าเด็กและประจำเดือนนั้น ค่อนข้างใกล้เคียงกันซะเหลือเกิน ดังนั้นหากไม่มั่นใจว่าเลือดที่ออกมาคือ เลือดแบบไหนกันแน่ ? แนะนำให้ใช้ที่ตรวจครรภ์ ตรวจดู หากพบว่าตั้งครรภ์ แปลว่า เลือดที่ออก คือ เลือดล้างหน้าเด็ก แต่ถ้าผลออกมาว่าไม่ได้ตั้งครรภ์ เลือดที่ออกอาจเป็นประจำเดือนที่คลาดเคลื่อนก็ได้

นอกจากนี้วิธีการตรวจครรภ์ที่ถูกต้องก็เป็นส่วนหนึ่งของการตรวจสอบอาการเลือดล้างหน้าเด็กนะคะ หากใช้ที่ตรวจครรภ์ไม่ถูกต้อง ก็อาจไม่เห็นผลลัพธ์ของอาการที่แท้จริง ดังนั้นคุณแม่สามารถเรียนรู้วิธีการตรวจครรภ์ที่ถูกต้องได้ที่นี่ 

เมื่อเกิดอาการเลือดล้างหน้าเด็ก ควรทำอย่างไร?

คุณแม่มือใหม่อาจเกิดความกังวล เมื่อเจอกับอาการเลือดล้างหน้าเด็ก ซึ่งโดยปกติแล้ว ไม่ต้องไปทำอะไรกับมันเลย เพราะ เลือดนี้จะสามารถหายไปเองภายใน 1 – 2 วัน และปริมาณก็น้อย ไม่ส่งผลกระทบต่อลูกในครรภ์แน่นอนค่ะ เพียงแค่คุณแม่ต้องนอนพักผ่อนให้เพียงพอตามปกติ และสังเกตเลือดที่ออกต่อไปว่ามีอะไรผิดแปลกจากเดิมหรือไม่

เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม

เลือดล้างหน้าเด็ก อันตรายไหม ?

อย่างที่บอกไปนะคะว่า เลือดล้างหน้าเด็กนั้นไม่เป็นอันตราย มีอาการเพียงไม่กี่วันก็หายไปเองแล้ว แต่ถ้าหากมีเลือดออกติดต่อกันเกินกว่า 2 วัน รวมถึงเลือดมีสีแดงสด ไม่ใช่สีชมพูหรือน้ำตาล และมีปริมาณเลือดออกมาก หรือเลือดเป็นลิ่ม แถมยังมีอาการไข้เล็กน้อย ควรไปพบคุณหมอ เพื่อตรวจดูให้แน่ชัด เพราะอาจเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความผิดปกติของมดลูก หรือเป็นอาการที่อันตรายต่อลูกในครรภ์ได้

อาการเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ อาจมาจากสาเหตุอื่นได้ เช่น

  • การมีเพศสัมพันธ์ที่รุนแรง หรือใช้สิ่งแปลกปลอมสอดใส่ขณะมีเพศสัมพันธ์ โดยเฉพาะช่วงตั้งครรภ์ที่ฮอร์โมนในร่างกายคุณแม่จะเปลี่ยนทำให้สามารถเกิดอารมณ์ทางเพศได้ง่ายมากขึ้นด้วย และอาจนำไปสู้การติดเชื้อของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน
  • การคุมกำเนิดด้วยการรับประทานยา จะมีโอกาสให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอด หรือประจำเดือนมาผิดปกติได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรับประทานยาคุมไม่สม่ำเสมอ ก็จะยิ่งเพิ่มโอกาสเสี่ยงให้เกิดเลือดออกทางช่องคลอดได้ง่ายมากขึ้น นอกจากนี้การคุมกำเนิดด้วยใช้วิธีห่วงอนามัย ก็เป็นสาเหตุได้เช่นกัน
  • การติดเชื้อหรือการอักเสบของอวัยวะในอุ้งเชิงกราน ซึ่งเกิดจากโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น โรคซิฟิลิส หนองใน หรือโรคอื่น ๆ ก็เป็นหนึ่งในสาเหตุของอาการเลือดออกทางช่องคลอดในช่วงตั้งครรภ์ได้
  • การทำงานผิดปกติของมดลูก และโรคทางระบบสืบพันธ์ เช่น โรคกลุ่มอาการรังไข่ที่มีถุงน้ำหลายใบ (PCOS) หรือประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • การตั้งครรภ์นอกมดลูก เป็นความผิดปกติที่อันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์
  • ภาวะแท้ง อาการเลือดออกและปวดท้องอย่างรุนแรง

เลือดล้างหน้าเด็ก ไม่เป็นอันตรายต่อคุณแม่และลูกในครรภ์ แต่เป็นเพียงสัญญาณที่บอกว่าเรากำลังมีเจ้าตัวน้อยอยู่นั่นเอง และยิ่งรู้ถึงสาเหตุได้เร็วเท่าไหร่ก็จะยิ่งช่วยให้เราวางแผนการดูแลตัวเองและลูกน้อยได้อย่างปลอดภัยมากขึ้น โดยเฉพาะ คุณแม่ต้องระวัง 9 ภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เสี่ยงต่อชีวิต

SHARE

RELATED POSTS

7 เคล็ด(ไม่)ลับ รับมืออารมณ์คนท้องแปรปรวน ทำตามนี้ได้ผลดีแน่นอน…
เผยวิธีห่อตัวทารกอย่างไรให้ลูกปลอดภัย สบายตัว พร้อมรับโลกใบใหม่ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ที่กำลังข้องใจเกี่ยวกับวิธีห่อตัวทารกว่าจะต้องเริ่มต้นยังไงให้ถูกต้องและปลอดภัย…
พ่อแม่ควรรู้ ปรอทวัดไข้สำหรับเด็กแบบไหนให้ผลลัพธ์แม่นยำสุด อุปกรณ์สำคัญที่พ่อแม่ควรมีติดบ้านเอาไว้อย่าง ปรอทวัดไข้…