Search
Close this search box.
ดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด

รวมวิธีดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด กุญแจสำคัญสู่การฟื้นตัวไว

การผ่าคลอดเป็นวิธีการทำคลอดที่ช่วยให้คุณแม่และลูกน้อยปลอดภัยจากความเสี่ยงระหว่างการตั้งครรภ์หรือแม้แต่ปัญหาต่าง ๆ ที่ทำให้คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองได้ตามธรรมชาติ เหล่าคุณแม่ทั้งหลายอาจจะรู้สึกตื่นเต้นและมีความสุขหลังจากได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่หลายคนก็ต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าหลังผ่าคลอด การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดจึงเป็นสิ่งสำคัญที่คุณแม่ทั้งหลายไม่ควรมองข้าม เพื่อให้คุณแม่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็วและกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ พร้อมกลับมามีพลังในการเลี้ยงเจ้าตัวเล็กได้อย่างมีความสุข

เทคนิคดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดที่คุณแม่ควรรู้

กิจวัตรประจำวัน

ดูแลตัวเองหลังคลอด กิจวัตรประจำวัน

1. การขยับร่างกาย

การขยับตัวเป็นการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดที่สำคัญมากที่จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวได้อย่างรวดเร็ว โดยคุณแม่ควรขยับตัวตั้งแต่วันแรกหลังจากผ่าตัด อาจจะใช้วิธีการขยับร่างกายเบา ๆ เช่น การลุกขึ้นนั่งหรือยืนข้างเตียง เพื่อป้องกันอาการท้องอืด และลดการเกิดพังผืดบริเวณช่องท้อง นอกจากนี้ ในช่วงแรกคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแผลขณะขยับร่างกาย จึงควรหลีกเลี่ยงกิจกรรมที่หนักเกินไป เช่น การขับรถ การออกกำลังกาย การมีเพศสัมพันธ์ เป็นต้น

2. การพักผ่อน

การพักผ่อนอย่างเพียงเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด โดยคุณแม่ควรนอนให้ได้มากที่สุดในช่วงที่ลูกนอนหลับ เนื่องจากร่างกายของคุณแม่อาจอ่อนเพลียจากการผ่าตัดและให้นมลูก ดังนั้น การพักผ่อนจึงจะช่วยให้คุณแม่ฟื้นฟูร่างกายจากอาการอ่อนล้าและความเครียดได้เป็นอย่างดี

3. การทานอาหาร

ในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด คุณแม่ควรให้ความสำคัญกับการเลือกทานอาหารอย่างเหมาะสม โดยควรเริ่มจากการค่อย ๆ จิบน้ำหรือของเหลว ก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นอาหารเหลวอย่างโจ๊ก หลังจากนั้นจึงเริ่มทานอาหารที่ย่อยง่ายและรสไม่จัดได้ นอกจากนี้ยังควรเลี่ยงการดื่มนมหรือน้ำอัดลม เพราะอาจทำให้ท้องอืด และอาหารที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ เช่น อาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ อาหารหมักดอง และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ รวมถึงควรทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น โปรตีน ธาตุเหล็ก สังกะสี วิตามิน และเกลือแร่ ซึ่งมีคุณสมบัติช่วยในการสมานแผล

4. การเข้าห้องน้ำ

ในช่วง 2 วันแรกหลังจากผ่าตัดคุณแม่จะมีสายสวนปัสสาวะ แต่เมื่อแพทย์ได้ทำการเอาสายสวนออกแล้ว คุณแม่จะต้องปัสสาวะเองให้ได้ภายใน 6 ชั่วโมง ซึ่งการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดที่สำคัญ คือ คุณแม่จะต้องทำความสะอาดให้ดี และหากในวันที่ 3 คุณแม่ไม่สามารถขับถ่ายเองได้ ควรใช้ยาถ่ายช่วยเพื่อให้ระบบขับถ่ายกลับมาทำงานเป็นปกติ แต่ถ้าหากคุณแม่มีอาการปวดขณะปัสสาวะควรแจ้งแพทย์ทันที

5. การไอ

หากคุณแม่ต้องการไออาจจำเป็นต้องมีการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดอย่างระมัดระวัง เนื่องจากคุณแม่อาจรู้สึกเจ็บแปลบที่แผลผ่าตัด ซึ่งเป็นเรื่องปกติ ดังนั้น จึงควรใช้มือหรือหมอนกดที่แผลเพื่อบรรเทาอาการเจ็บ จากนั้นให้หายใจเข้าลึก ๆ และกลั้นไว้สักครู่ ก่อนที่จะไอออกมา

6. การยกของ

ในช่วง 3 เดือนแรกหลังจากผ่าคลอด คุณแม่คุณหลีกเลี่ยงการยกของหนักหรือออกแรงเยอะ เนื่องจากการเกร็งหน้าท้องอาจทำให้แผลผ่าคลอดตึงและเกิดการฉีกขาด จนนำไปสู่การเกิดแผลเป็นนูนหรือคีลอยด์ ซึ่งเป็นปัญหาที่คุณแม่ทั้งหลายเป็นกังวลในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด

การให้นมบุตร

ดูแลตัวเองหลังคลอด ให้นมบุตร

1. เริ่มให้นมลูกไว

ในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด คุณแม่อาจประสบปัญหาน้ำนมผลิตได้ช้า เนื่องจากการผ่าตัดและผลข้างเคียงจากยาบางชนิด แต่คุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวล เนื่องจากวิธีการที่จะช่วยเพิ่มน้ำนมได้ง่าย ๆ คือการเริ่มให้นมลูกให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ รวมถึง การอุ้มลูกเข้าเต้าตั้งแต่อยู่บนเตียงก็ช่วยกระตุ้นการผลิตน้ำนมได้ดีขึ้น ทั้งนี้ คุณแม่ควรปรึกษาแพทย์ว่ายาที่ได้รับปลอดภัยต่อการให้นมบุตรหรือไม่

2. ให้นมลูกบ่อย ๆ

อีกหนึ่งวิธีการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด ให้สามารถผลิตน้ำนมได้เยอะ ๆ คือ คุณแม่ควรให้นมลูกบ่อย ๆ อาจให้ทุก 2-3 ชั่วโมงในช่วงกลางวัน และทุก 3-4 ชั่วโมงในช่วงกลางคืน เพื่อกระตุ้นการผลิตน้ำนมในช่วงแรก และหลังจากนั้นคุณแม่สามารถให้นมลูกได้ทันทีเมื่อลูกหิว

3. การอุ้มลูกเข้าเต้า

นอกเหนือจากการดูแลตัวหลังผ่าคลอดให้สามารถผลิตน้ำนมได้เพียงพอต่อความต้องการของลูก การอุ้มลูกขณะให้นมก็เป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริบเติบโตของลูกรัก โดยคุณแม่ควรอุ้มลูกให้อยู่ในท่าที่สบายและปลอดภัย ในวันแรกหลังผ่าตัดคุณแม่อาจลุกนั่งได้ลำบาก อาจใช้การนอนตะแคงและให้ศีรษะของลูกอยู่ระดับเดียวกับเต้านมแทน หลังจากที่คุณแม่เริ่มขยับตัวได้สะดวกแล้ว ให้อุ้มโดยให้ศีรษะลูกอยู่ที่เต้านม แล้วใช้แขนรองหลังลูก หรืออาจใช้หมอนรองเพื่อความสบายของคุณแม่ โดยท่านี้จะช่วยให้คุณแม่ให้นมลูกได้อย่างสะดวกและลดการกดทับแผลผ่าตัดได้ดี

การดูแลแผลผ่าตัด

ดูแลตัวเองหลังคลอด แผลผ่าคลอด

1. ไม่ให้แผลโดนน้ำ

การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดไม่ให้แผลติดเชื้อ คุณแม่ควรระมัดระวังไม่ให้แผลโดนน้ำในช่วง 7 วันแรก เพราะอาจทำให้เสี่ยงต่อการอักเสบหรือติดเชื้อได้ หากแผลไม่ได้ปิดด้วยปลาสเตอร์แบบกันน้ำ แนะนำให้ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวแทนการอาบน้ำ แต่หากแผลปิดด้วยปลาสเตอร์กันน้ำ คุณแม่สามารถอาบน้ำได้ แต่หลีกเลี่ยงการแช่น้ำหรือทำให้ปลาสเตอร์เปียกน้ำ รวมถึง ควรซับให้แห้งและเปลี่ยนปลาสเตอร์ใหม่ทันทีหากแผลเปียกน้ำ

2. ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ

เมื่อแผลสมานกันสนิทแล้ว คุณแม่อาจดูแลตัวเองหลังคลอดได้โดยการใช้น้ำเกลือเช็ดบริเวณแผลเบา ๆ หลังจากอาบน้ำเสร็จ จากนั้นใช้สำลีแผ่นซับให้แห้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อและช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น

3. ไม่สวมเสื้อผ้าที่รัดหรือแน่นเกินไป

เพื่อป้องกันไม่ให้แผลผ่าคลอดเกิดการกดทับหรือระคายเคือง คุณแม่ควรดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดโดยเลือกสวมใส่เสื้อผ้าที่โปร่งสบาย ไม่รัดแน่นหรือบีบรัดบริเวณหน้าท้องมากเกินไป เสื้อผ้าที่สวมใส่ควรเป็นผ้าฝ้ายหรือผ้าที่ระบายอากาศได้ดี เพื่อช่วยลดความอับชื้นและการเสียดสีกับแผล

4. ทาครีมบำรุงผิว

การทาครีมบำรุงผิวและครีมลดรอยแผลเป็นคือหนึ่งกุญแจสำคัญของการดูแลตัวเองหลังคลอด ที่จะช่วยคลายความกังวลเกี่ยวกับรอยแผลเป็นหลังคลอดของเหล่าคุณแม่ได้เป็นอย่างดี โดยหลังจากที่แผลแห้งสนิทดีแล้วคุณแม่อาจทาครีมบำรุงผิว ออยล์ มอยเจอร์ไรเซอร์ หรือครีมลดรอยแผลเป็นทาเบา ๆ บริเวณแผลเพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นให้แก่ผิวและช่วยให้รอยแผลเป็นดูจางลง

5. สังเกตการติดเชื้อ

ในการดูแลตัวเองหลังผ่าคลอด คุณแม่ควรสังเกตแผลผ่าคลอดเป็นประจำ หากพบอาการผิดปกติ เช่น แผลบวม แดง มีหนอง แผลปริ ปวดบริเวณแผล หรือมีไข้สูง ควรไปพบแพทย์ทันที เนื่องจากอาจเกิดอาการแผลติดเชื้อ และหากแผลไม่ดีขึ้นควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิด

การดูแลตัวเองหลังผ่าคลอดเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้คุณแม่ฟื้นตัวอย่างรวดเร็วและพร้อมกลับมาใช้ชีวิตได้ตามปกติ ดังนั้นจึงปฏิบัติตามคำแนะนำแพทย์อย่างเคร่งครัด แต่คุณแม่อย่าลืมไปว่าการฟื้นตัวต้องใช้เวลาและความอดทน คุณแม่ควรให้ความสำคัญทั้งสุขภาพกายและจิตใจ เพื่อให้หนทางสู่การเป็นคุณแม่ดำเนินไปอย่างราบรื่น

SHARE

RELATED POSTS

ปัญหาเด็กแพ้อาหารไม่ใช่เรื่องเล็ก พ่อแม่ไม่ควรมองข้าม เมื่อถึงเวลาที่ลูกน้อยต้องเริ่มทานอาหารอื่นนอกจากนมแม่ ในช่วงแรกคุณพ่อคุณแม่หลายคนอาจจะรู้สึกตื่นเต้นกับการเปลี่ยนแปลง…
รวมกิจกรรมพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก เสริมสร้างพัฒนาการลูกน้อย การพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กถือเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กวัยแรกเกิดถึง 3…