Search
Close this search box.
หน้าปกของการคลอกลูกในน้ำ

มารู้จัก การคลอดลูกในน้ำ ที่เจ็บน้อยสุด สบายสุด และแฮปปี้สุด

ใกล้ครบเวลา 9 เดือนแล้วที่จะได้เห็นหน้าลูกน้อย แต่จะคลอดลูกแบบไหนดีล่ะ ? คุณแม่หลายคนอาจจะรู้จักแค่การคลอดแบบธรรมชาติ และการผ่าคลอด แต่จริง ๆ แล้ว ยังมีอีกวิธีที่เป็นการคลอดแบบธรรมชาติเช่นกัน คือ ‘การคลอดลูกในน้ำ’

หลายคนคุ้นชินกับสองวิธีแรกที่กล่าวไป และอาจจะแปลกใจว่าวิธีคลอดลูกในน้ำคืออะไร ? มีวิธีแบบนี้ด้วยหรอ ? วันนี้ Cotton Baby จะมาอธิบายให้คุณแม่เข้าใจและสามารถนำไปเลือกพิจารณาในการคลอดเจ้าตัวน้อยได้ค่ะ

คลอกลูกในน้ำคืออะไร

คลอดลูกในน้ำ คืออะไร

คือ การคลอดลูกรูปแบบหนึ่งที่กำลังเป็นที่นิยมทั้งในและต่างประเทศ ด้วยการให้คุณแม่ที่กำลังจะคลอดลูกอยู่ในสระหรืออ่างซึ่งเต็มไปด้วยน้ำอุ่นประมาณ 35-37 องศา เพื่อให้สภาพแวดล้อมใกล้เคียงกับอุณหภูมิของถุงน้ำคร่ำ เมื่อทารกออกมาแล้ว จะสามารถปรับตัวได้ง่ายขึ้น และจะถูกนำขึ้นสู่ผิวน้ำทันที

คลอดลูกในน้ำ ดีกว่าอย่างไร

  • คุณแม่จะรู้สึกผ่อนคลาย สบายตัว และเคลื่อนไหวได้อิสระกว่าบนเตียง
  • ลดโอกาสช่องคลอดฉีกขาดอย่างรุนแรง ช่วยเรื่องการหดตัวของมดลูกและการไหลเวียดเลือดไปมดลูกได้ดีกว่าด้วย
  • บรรเทาอาการปวด เนื่องจากการลอยตัวของน้ำ และทำให้ร่างกายทำงานเฉพาะส่วนที่จำเป็น
  • ไม่ต้องดมยาสลบ ยาชา หรือยาแก้ปวด
  • ลดระยะเวลาคลอด เฉลี่ยเพียง 32 นาทีเท่านั้น

ในสภาวะที่คุณแม่อยู่ในน้ำจะทำให้ความตึงเครียดลดลง นอกจากนี้ยังสามารถเปิดเพลงคลอเบา ๆ เพื่อสร้างบรรยากาศในการคลอดลูกในน้ำให้น่ารื่นรมย์มากขึ้น

คลอดลูกในน้ำเสี่ยงไหม

ดูเหมือนว่าการคลอดลูกในน้ำมีแต่ข้อดีที่โน้มน้าวให้คุณแม่อยากลองมาใช้วิธีนี้กัน แต่อย่างไรก็ตามการคลอดลูกในน้ำมาพร้อมกับความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนได้ ตั้งแต่การติดเชื้อ หรืออาจร้ายแรงจนถึงขั้นลูกแรกเกิดจมน้ำได้  เพื่อความปลอดภัยสูงสุดของคุณแม่และลูก นี่คือความเสี่ยงของการคลอดลูกในน้ำที่คุณแม่ควรทราบก่อนจะตัดสินใจเลือกการคลอดวิธีนี้ค่ะ

  • ลูกอาจจะติดเชื้อได้

การคลอดลูกในน้ำ หมายถึงการนั่งและเบ่งลูกในสระหรืออ่าง ซึ่งมีโอกาสที่ลูกแรกเกิดจะเผลอกลืนและสำลักน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไปสู่ร่างกายได้ และเกิดการติดเชื้อได้ ถึงแม้ว่าน้ำจะทำการปลอดเชื้อแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าภายในร่างกายของตัวคุณแม่เองจะสะอาดร้อยเปอร์เซ็นต์ที่จะทำให้น้ำนั้นไม่สกปรก

  • สายสะดืออาจขาดได้ก่อนที่ลูกจะขึ้นจากน้ำ

สายสะดือเป็นส่วนที่ส่งผ่านเลือดที่เต็มไปด้วยออกซิเจนและสารอาหารจากคุณแม่ไปสู่ลูก ดังนั้นเมื่อเขาอยู่ในน้ำ สายสะดือสามารถพันตัวลูกหรือฉีดขาดได้ มีผลทำให้ลูกอาจจะถึงขั้นเสียชีวิต จากการสูญเสียเลือดจำนวนมาก

  • เสี่ยงต่อโรคปอดบวม

หลังจากคลอดลูกในน้ำแล้ว เด็กควรขึ้นสู่ผิวน้ำทันที เพราะอาจเกิดโรคปอดบวม และมักจะเกิดขึ้นภายใน 24-48 ชั่วโมงหลังคลอด ผลการวิจัยรายงานว่า เด็กทารกส่วนใหญ่ที่เสียชีวิตจากโรคปอดบวม เกิดจากการกินน้ำที่ปนเปื้อนเชื้อโรคในขณะที่อยู่ในน้ำ

  • เสี่ยงจมน้ำ

การจมน้ำ การหายใจไม่ออก และมีอาการชักในน้ำ เป็นความเสี่ยงของทารกหลังจากที่คุณแม่คลอดลูกในน้ำ เนื่องจากกระบวนการคลอดลูก อาจทำให้เด็กต้องอยู่ใต้น้ำนานเกินไป และเขายังไม่รู้จักวิธีการหายใจทางปาก สิ่งที่ควรทำคือการให้เขาได้รับออกซิเจนในการหายใจมากและด่วนที่สุด เพื่อป้องกันการเสียชีวิต

คลอดลูกในน้ำไม่เหมาะกับใคร

ใครไม่เหมาะกับการคลอดลูกในน้ำ

การคลอดลูกในน้ำ อาจจะไม่ได้ตอบโจทย์กับคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ทุกคน หากคุณแม่มีหนึ่งในปัจจัยดังต่อไปนี้ แปลว่าการคลอดลูกในน้ำนั้นไม่ใช่ตัวเลือกเหมาะสมเลย ควรหันไปใช้วิธีคลอดแบบอื่นแทน เพื่อความปลอดภัยของคุณแม่และคุณลูกเอง

  • คุณแม่ที่มีอายุต่ำกว่า 17 ปี และมากกว่า 35 ปี
  • มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ภาวะครรภ์เป็นพิษ โรคเบาหวาน หรือภาวะเลือดออกมากเกินไป
  • ท้องลูกแฝด
  • คลอดก่อนกำหนด (สองสัปดาห์ขึ้นไปก่อนวันกำหนด)
  • ทารกที่มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
  • คุณแม่ที่มีอาการเริม เพราะเริมจะส่งต่อได้ง่ายในน้ำ

ขั้นตอนการคลอดลูกในน้ำ

หากคุณแม่มั่นใจในการคลอดลูกในน้ำ นี้คือข้อแนะนำสำหรับขั้นตอนการเตรียมตัว

  • เตรียมอ่างน้ำที่สะอาด ผ่านการฆ่าเชื้อมาอย่างดี
  • น้ำต้องอุ่นประมาณ 35-37 องศา เพื่อการปรับสภาพของทารกที่กำลังคลอด
  • แพทย์ที่เชี่ยวชาญต้องอยู่ใกล้ตัว

ค่าคลอดลูกในน้ำ

ในประเทศไทย การคลอดลูกน้ำยังจำกัดอยู่แต่เพียงโรงพยาบาลเท่านั้น ซึ่งต่างจากต่างประเทศที่สามารถทำเองได้ที่บ้าน โดยราคาค่าบริการจะอยู่ราว ๆ 60,000-80,000 บาท (ราคาขึ้นอยู่กับโรงพยาบาล)

เป็นอย่างไรบ้างคะ สำหรับการคลอดลูกในน้ำ แต่ก่อนที่คุณแม่จะเลือกวิธีคลอดลูกแบบใดก็ตาม คุณแม่จำเป็นต้องทำการตรวจสุขภาพครรภ์ รวมถึงสุขภาพของคุณแม่ด้วยนะคะ เพื่อความปลอดภัยของตัวคุณแม่เอง และลูกในครรภ์ค่ะ

หากคุณแม่ท่านใดกำลังมีแนวคิดเกี่ยวกับการคลอดลูกในน้ำ ต้องศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด และปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพช่วงตั้งครรภ์ก่อนตัดสินใจนะคะ

SHARE

RELATED POSTS

‘ฟันน้ำนม’ สำคัญกว่าที่คิด ชวนพ่อแม่มาดูแลฟันลูกน้อยตั้งแต่ซี่แรก หนึ่งในพัฒนาการสำคัญของลูกน้อยวัยทารกนั่นก็คือ…