Search
Close this search box.
รับมือลูกอาละวาด

รับมือลูกอาละวาดแบบนี้ดีกว่า
แม่ไม่หนักใจ ลูกควบคุมอารมณ์ได้ไว

การรับมือเมื่อลูกอาละวาดเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่คุณแม่ส่วนใหญ่ไม่รู้ว่าจะจัดการยังไงดี โดยที่ไม่ทำให้เขาร้องไห้หนักกว่าเดิม และตัวคุณแม่เองก็ไม่ต้องไม่รู้สึกผิดเพราะใช้อารมณ์จัดการ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในพื้นที่ที่มีคนเยอะ ๆ แทนที่จะใช้วิธีดุหรือขู่ให้ลูกกลัว วันนี้ Cottonbaby มีวิธีที่ดีกว่านั้นมานำเสนอ เพื่อให้คุณแม่รับมือลูกอาละวาดได้ถูกวิธี

วิธีรับมือลูกอาละวาด

รับมือลูกอาละวาด

ในขณะที่ลูกมีปัญหาหรืออาละวาด พ่อแม่ไม่ควรผลักไส และกลับมาสนใจเขาแค่เฉพาะตอนที่หยุดร้อง เพราะเด็กบางคนอาจรู้สึกว่าตัวเองไม่เป็นที่ต้องการหรือสูญเสียคุณค่าในตัวเอง ส่งผลให้เขารู้สึกว่าถูกทำร้ายจิตใจ และในอนาคตเมื่อมีปัญหา เครียด กังวล ก็จะไม่กล้าเข้าหาพ่อแม่ วิธีรับมือลูกอาละวาดที่ถูกต้องคือ

Do : พาลูกไปพื้นที่ที่ไม่รบกวนผู้อื่น โดยไม่ใช้อารมณ์ ไม่ลากหรือดึง แล้วบอกว่า “แม่จะรออยู่ตรงนี้นะ”

Don’t : ผลักไสลูกหรือปล่อยให้เขาอยู่คนเดียวตามลำพัง เช่น การเข้ามุม 5 นาที

รับมือลูกอาละวาด

เวลาที่ลูกอาละวาด พ่อกับแม่ชอบสร้างเงื่อนไขและอธิบาย เช่น “ถ้าทำแบบนี้อีกทีหลังจะไม่พาไปไหนด้วยละนะ หรือ “ถ้ายังร้องอีกก็ไม่ต้องมาคุยกัน” แต่วิธีรับมือลูกอาละวาดที่ถูกต้องไม่ใช่แบบนั้น คุณพ่อและคุณแม่ต้องนิ่งและใจแข็งเข้าไว้ หากอยู่ห้างก็ควรแยกออกมาที่เงียบ ๆ เพื่อให้เขาสงบอารมณ์ลง โดยไม่ต้องพูดอะไร แต่ยืนอยู่ข้าง ๆ ให้เขารู้ว่าเรายังอยู่กับเขาเสมอ

Do : ฟังให้มาก พูดให้น้อย

Don’t : สอนและอธิบายเหตุผลขณะที่ลูกกำลังร้อง

รับมือลูกอาละวาด

ก่อนที่จะไปห้าง เด็กจะรู้แล้วว่าวันนี้ต้องขอแม่ไปดูของเล่น หากคุณแม่กลัวว่าลูกจะอาละวาดเพราะไม่ซื้อของเล่นให้ ก็ควรตกลงกันก่อนไป เช่น “วันนี้เราจะไม่ซื้อของเล่นนะคะ เพราะครั้งที่แล้วหนูซื้อไปแล้ว หมดโควตาของเดือนนี้ เดือนหน้าค่อยซื้อใหม่นะ”  วิธีนี้จะช่วยให้ลูกเข้าใจกติกา และรู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไรเมื่อต้องออกไปข้างนอก ถือว่าเป็นการรับมือลูกอาละวาดเอาไว้ล่วงหน้า

Do : ตกลงกันก่อนว่าวันนี้จะไม่ซื้อของเล่น

Don’t : ตามใจด้วยการซื้อของเล่นให้ เพื่อให้เขาหยุดร้อง

รับมือลูกอาละวาด

การรับมือลูกอาละวาดช่วงที่ลูกอยู่บ้าน คุณแม่อาจจะแนะนำสิ่งที่ลูกทำได้เวลาโกรธ เช่น “มาระบายสีหรือเล่นของเล่นตรงนี้ได้นะ” แต่ไม่ต้องบังคับให้เขาหยุดร้องหรือโวยวาย เพราะถ้าเขาเรียกร้องความสนใจเพิ่มขึ้น แต่ถ้าร้องแล้วไม่ได้สิ่งที่ต้องการ เขาจะเรียนรู้ว่าการอาละวาดไม่ช่วยอะไร และหันไปทำอย่างอื่นแทน

Do : แนะนำสิ่งที่ลูกทำได้เวลาโกรธ เช่น ระบายสี เล่นตุ๊กตา, ของเล่น

Don’t : ดุด่า ข่มขู่ หรือตี ยิ่งอยู่บ้านที่เป็นพื้นที่ส่วนตัว พ่อแม่จะใจร้อนมากกว่าอยู่ข้างนอก

คุณพ่อคุณแม่ลองเอาวิธีรับมือลูกอาละวาดเหล่านี้ไปปรับใช้ดูนะคะ เพื่อช่วยเซฟทั้งความรู้สึกเราและลูกไปพร้อม ๆ กัน ไม่ต้องทำให้เขาร้องไห้หนัก และเราก็ไม่ต้องโกรธหรือรู้สึกผิดทีหลังอีกด้วย

หนังสือ มนุษย์มหัศจรรย์ก็แม่นี่แหละ โดย คุณหมอแอน

SHARE

RELATED POSTS

“ว้ายตายแล้ว! ทำไมลูกฉันพูดคำนี้ออกมา ไม่เคยสอนเลยนะ” จัดการยังไงเมื่อลูกพูดคำหยาบให้ได้ยิน…
เด็กฟันผุ ปัญหาสุดคลาสสิกที่พ่อแม่มักไม่ให้ความสำคัญ ได้เวลาหยุดพฤติกรรมเสี่ยงที่ทำให้ลูกฟันผุ ด้วยการปรับเปลี่ยนของใช้และพฤติกรรมของน้องกัน…
วิธีชมลูกแบบไหนที่พ่อแม่ควรหรือไม่ควรทำกันนะ คำชมที่ใช้อยู่ตอนนี้ดีจริงหรือเปล่า ถ้าไม่แน่ใจ มาดูกันใหม่…
คำพูดที่เราคิดว่าดีต่อลูกอาจจะไม่ได้ดีเสมอไป แม้ว่าคำนั้นจะน้ำเสียงอ่อนโยนแค่ไหน แต่ก็เป็นคำพูดที่ไม่ควรพูดกับลูก เพราะจะทำให้เขาสูญเสียการนับถือตนเองและกลัวจนไม่กล้าแสดงออก…
รู้หรือไม่ว่า ‘การใช้ถุงเก็บน้ำนมอย่างถูกวิธี’ ช่วยรักษาคุณค่าของน้ำนมแม่ให้มีคุณภาพดี ไม่ต่างจากน้ำนมที่ลูกดื่มจากเต้าเลย…